วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ความรุ่งเรืองของเงินตรา

ความรุ่งเรืองของเงินตรา


1. ปัญหาทางการเงินอย่างหนึ่ง คือ มีสถาบันการเงินน้อยเกินไป ทำให้มีการกู้ยืมนอกระบบด้วยอัตราดอกเบี้ยสูงมาก สถาบันที่ฉ้อฉล การมีสถาบันการเงินที่ดี รับฝากเงินจากผู้มีเงิน ปล่อยให้ผู้ต้องการด้วยอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม
2. ในปัจจุบัน 'ผู้ลงทุน' หรือผู้รู้เรื่องเงิน ทำเงินได้สูงกว่า 'แรงงานไร้ฝีมือหรือฝีมือปานกลาง' อย่างมหาศาล แบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ระบบให้รางวัลกับผู้ที่ "เข้าใจเรื่องเงิน" มากเกินไป
3. วิกฤตเศรษฐกิจ ยากที่จะทำนายได้ว่าจะเกิดเมื่อไร รุนแรงแค่ไหน เพราะความซับซ้อนของระบบการเงินปัจจุบัน

ดอกเบี้ย: ขอยืมวัวไปใช้ เมื่อเวลาผ่านไปวัวมีลูก นั่นคือส่วนของดอกเบี้ย
ดอกเบี้ย : มีไว้ชดเชยความเสี่ยงที่จะถูกเบี้ยวหนี้

วิวัฒนาการของธนาคาร เกิดจากการเป็นตัวแทนแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงิน ระหว่างพ่อค้า ต่อมาจึงเริ่มรับฝากเงิน ปล่อยกู้(เก็บเงินฝากเพียงบางส่วน) ส่งผล
ให้การขยายตัวของเงินกู้สูงมาก
ในยุโรปพัฒนาจากธนาคารกลางทำให้มีจำนวนธนาคารน้อย
ในอเมริกา กลัวว่านักการเงินจะมีอิทธิพล จึงออกกฎหมายให้ทำธนาคารข้ามรัฐได้ยาก จึงเกิดธนาคารขนาดเล็กจำนวนมาก (ปีค.ศ.1899 มีกว่า 30,000 แห่ง) มีการกำหนดเงินสำรองต่ำ เกิดการล้มละลาย ปี 1993 เกิด ปัญหา sup-prime เหลือ 3,600 แห่ง

ในปัจจุบัน เงินในความหมายอย่างกว้างเพิ่มขึ้นมาก อัตราส่วนทุนสำรองของธนาคารลดลง (นับเงินฝากมากขึ้น ปล่อยกู้มากขึ้น เสี่ยงมากขึ้น 

ในอดีตรัฐกู้เงินจากเอกชนผ่านการขายพันธบัตร ยิ่งในช่วงสงคราม ต้องใช้เงินเยอะมาก บางประเทศกู้เกินกำลังใช้คืน การแก้ปัญหาในอดีตคือเบี้ยวหนี้ หรืออาจเกิดสงคราม ผู้ชนะจัดตั้งรัฐบาลใหม่และปฏิเสธการจ่ายหนี้ของผู้บริหารชุดเก่า 
การกู้จากในประเทศมีผลทางสังคมมากกว่ากู้จากต่างประเทศ ทำให้การเบี้ยวหนี้ต่างประเทศง่ายกว่า

การทำการค้าทางทะเล ต้องใช้เงินสูงและความเสี่ยงสูง จึงมีการจัดตั้งบริษัทมหาชนขึ้น ใน 10 ปีแรกบริษัทไม่มีกำไรและไม่ปันผล อักทั้งไม่ซื้อหุ้นคืน จึงเกิดตลาดรองซื้อขายแลกเปลี่ยนหุ้นขึ้นที่กรุงอัมสเตอร์ดัม เมื่อ 400 ปีก่อน หุ้นที่ซื้อขายยังสามารถนำมาประกันเงินกู้ได้ด้วย จึงเกิดเสาหลัก 3 อย่าง คือ บริษัทจำกัด ตลาดหุ้น ธนาคาร
จากประวัติศาสตร์ วิกฤติการณ์ทางการเงิน มักมีการผ่อนคลายทางการเงินจากทางการเกี่ยวข้องเสมอ

| Style : Background13, Font0, Size16 |