ความรุ่งเรืองของเงินตรา
1. ปัญหาทางการเงินอย่างหนึ่ง คือ มีสถาบันการเงินน้อยเกินไป ทำให้มีการกู้ยืมนอกระบบด้วยอัตราดอกเบี้ยสูงมาก สถาบันที่ฉ้อฉล การมีสถาบันการเงินที่ดี รับฝากเงินจากผู้มีเงิน ปล่อยให้ผู้ต้องการด้วยอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม
2. ในปัจจุบัน 'ผู้ลงทุน' หรือผู้รู้เรื่องเงิน ทำเงินได้สูงกว่า 'แรงงานไร้ฝีมือหรือฝีมือปานกลาง' อย่างมหาศาล แบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ระบบให้รางวัลกับผู้ที่ "เข้าใจเรื่องเงิน" มากเกินไป
3. วิกฤตเศรษฐกิจ ยากที่จะทำนายได้ว่าจะเกิดเมื่อไร รุนแรงแค่ไหน เพราะความซับซ้อนของระบบการเงินปัจจุบัน
ดอกเบี้ย: ขอยืมวัวไปใช้ เมื่อเวลาผ่านไปวัวมีลูก นั่นคือส่วนของดอกเบี้ย
ดอกเบี้ย : มีไว้ชดเชยความเสี่ยงที่จะถูกเบี้ยวหนี้
วิวัฒนาการของธนาคาร เกิดจากการเป็นตัวแทนแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงิน ระหว่างพ่อค้า ต่อมาจึงเริ่มรับฝากเงิน ปล่อยกู้(เก็บเงินฝากเพียงบางส่วน) ส่งผล
ให้การขยายตัวของเงินกู้สูงมาก
ในยุโรปพัฒนาจากธนาคารกลางทำให้มีจำนวนธนาคารน้อย
ในอเมริกา กลัวว่านักการเงินจะมีอิทธิพล จึงออกกฎหมายให้ทำธนาคารข้ามรัฐได้ยาก จึงเกิดธนาคารขนาดเล็กจำนวนมาก (ปีค.ศ.1899 มีกว่า 30,000 แห่ง) มีการกำหนดเงินสำรองต่ำ เกิดการล้มละลาย ปี 1993 เกิด ปัญหา sup-prime เหลือ 3,600 แห่ง
ในปัจจุบัน เงินในความหมายอย่างกว้างเพิ่มขึ้นมาก อัตราส่วนทุนสำรองของธนาคารลดลง (นับเงินฝากมากขึ้น ปล่อยกู้มากขึ้น เสี่ยงมากขึ้น
ในอดีตรัฐกู้เงินจากเอกชนผ่านการขายพันธบัตร ยิ่งในช่วงสงคราม ต้องใช้เงินเยอะมาก บางประเทศกู้เกินกำลังใช้คืน การแก้ปัญหาในอดีตคือเบี้ยวหนี้ หรืออาจเกิดสงคราม ผู้ชนะจัดตั้งรัฐบาลใหม่และปฏิเสธการจ่ายหนี้ของผู้บริหารชุดเก่า
การกู้จากในประเทศมีผลทางสังคมมากกว่ากู้จากต่างประเทศ ทำให้การเบี้ยวหนี้ต่างประเทศง่ายกว่า
การทำการค้าทางทะเล ต้องใช้เงินสูงและความเสี่ยงสูง จึงมีการจัดตั้งบริษัทมหาชนขึ้น ใน 10 ปีแรกบริษัทไม่มีกำไรและไม่ปันผล อักทั้งไม่ซื้อหุ้นคืน จึงเกิดตลาดรองซื้อขายแลกเปลี่ยนหุ้นขึ้นที่กรุงอัมสเตอร์ดัม เมื่อ 400 ปีก่อน หุ้นที่ซื้อขายยังสามารถนำมาประกันเงินกู้ได้ด้วย จึงเกิดเสาหลัก 3 อย่าง คือ บริษัทจำกัด ตลาดหุ้น ธนาคาร
จากประวัติศาสตร์ วิกฤติการณ์ทางการเงิน มักมีการผ่อนคลายทางการเงินจากทางการเกี่ยวข้องเสมอ
| Style : Background13, Font0, Size16 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น