วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

พฤติกรรม พยากรณ์





เมื่อมีตัวเลือกเปรียบเทียบ ได้แก่ A ,B คนอาจเลือกไม่ได้ ถ้าใส่ตัวล่อ(-A) มีผลให้เกิดการเปรียบเทียบ ทำให้คนมีแนวโน้มเลือก A มากขึ้น

เศรษฐศาสตร์คลาสสิค บอกว่า ราคาเป็นไปตามอุปสงค์ อุปทาน ซึ่งอาจจริงกับสินค้าที่สามารถเปรียบเทียบได้ คล้ายกัน สำหรับสินค้าที่ไม่สามารถมีตัวเปรียบเทียบ การตั้งราคามีผลต่อการตัดสินใจซื้อ โดยราคาแรกที่เห็นจะถูกฝังในความคิด เกิดป็นราคาเปรียบเทียบ 

การตั้งราคา "ไข่มุกดำ" ไว้ที่ราคาสูง สร้างเรื่องราวการหายาก ทำให้ของที่ไม่มีราคากลายเป็นของมีราคาได้

การตั้งราคาอย่างสุ่มเป็นราคาเริ่มต้น กลับกลายเป็นราคาที่คนจำได้และเก็บไว้เปรียบเทียบ แม้ว่าราคานั้นไม่สมเหตุสมผลก็ตาม
คนที่เห็นราคาเริ่มต้นสูงกว่ายอมจ่ายแพงกว่า สำหรับของสิ่งเดียวกัน

จูงใจโดยการสร้าง วิธีคิดใหม่ จาก "งาน" เป็น "เรื่องสนุก" ได้งานโดยไม่ต้องจ้าง

จากแนวคิดเรื่องอุปสงค์อุปทาน เมื่อสินค้าราคาเพิ่มขึ้น ความต้องการลดลง เมื่ออธิบายในแง่การผูกติดราคา สมมติว่า คน "จำราคาเดิมไม่ได้" แน่นอนว่าคงไม่มีผลต่อปริมาณการใช้จ่าย ที่คนใช้จ่ายน้อยลงเพราะ เปรียบเทียบกับราคาเดิม เมื่อคนใช้จ่ายบ่อยขึ้นก็จะผูกติดกับราคาใหม่ การบริโภคจะกลับมาที่เดิม

ถ้าจะลดราคาสินค้าให้เหลือน้อยๆ สู้แจกฟรีไปเลยดีกว่า เพราะ มีผลต่อจิตใจและการเลือกของคนมากกว่า

การผสานกันของสองกลยุทธ์
1.ตั้งราคาเริ่มต้นให้สูงเข้าไว้
2. แล้วเปลี่ยนเป็นแจกฟรี

เรากำลังอยู่บนโลก 2 ใบที่ต่างกัน 
1. โลกที่มีบรรทัดฐานทางสังคม เป็นการช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน ไม่ได้มองที่ตัวเงิน เน้นความสัมพันธ์ ความภูมิใจ
2. โลกที่มีบรรทัดฐานทางตลาด เป็นการแลกเปลี่ยนด้วยผลตอบแทนชัดแจ้ง

การทดลอง ให้คนทำงานหนึ่ง โดยบอกผลตอบแทนที่จะได้รับ
1. ให้เงินจำนวนน้อย.   งานที่ได้น้อย
2. ให้เงินจำนวนมาก งานที่ได้มาก
3.ขอความช่วยเหลือ ไม่บอกเรื่องเงิน งานที่ได้มาก
4. ให้ของขวัญเล็กน้อย และของขวัญมูลค่ามาก งานที่ได้มาก
5. ให้ของขวัญโดยบอกมูลค่าของขวัญด้วย ได้ผลลัพธ์เหมือนให้เงิน

ในภาวะอารมณ์ที่พลุ่งพล่าน โกรธ หิว อารมณ์ทางเพศ หัวเสีย รำคาญใจ ฯลฯ ทำให้การตัดสินใจผิดจากภาวะปกติมาก แทบจะหน้ามือเป็นหลังมือ

วิธีแก้ไขอย่างหนึ่งคือ "รอก่อน" อย่าเพิ่งทำอะไร รอให้เวลาผ่านไปซักวันสองวันก่อน

ปัญหาการผัดวันประกันพรุ่ง
ทำการทดลอง 3 กลุ่ม
1. กำหนดเส้นตายส่งงานชัดเจน ให้ผลดีสุด
2. ไม่กำหนดเส้นตายเลย ให้ผลแย่สุด
3. ให้กำหนดเส้นตายเอง อาจเลือกส่งเร็วหรือช้าก็ได้ ถ้าเลือกส่งเร็ว แล้วไม่ทันกำหนดจะถูกหักคะแนน ให้ผลเป็นกลาง
สรุป นิสัยประจำตัวของคน คือ ผัดวันประกันพรุ่ง การสร้างเส้นตายทำให้งานมีประสิทธิภาพขึ้นได้

การทดลองหนึ่ง ทำให้ทราบว่า เมื่อเราเป็นเจ้าของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีแนวโน้มที่เราจะตีค่าสิ่งเหล่านั้นสูงกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็นเจ้าของ และไม่อยากสูญเสียสิ่งนั้นไป เช่น เมื่อเป็นเจ้าของรถ เจ้าของรถจะตีค่ารถคันนั้นสูงกว่าผู้ซื้อ เหตุผลหนึ่งที่อธิบายได้ คือ เจ้าของ เห็น "ความทรงจำดีดีเกี่ยวกับรถคันนั้น" ผู้ซื้อเห็น "ข้อเสียเช่นควันดำ"

การเลือกระหว่าง 2 สิ่งที่คล้ายกันมากหรือให้ผลลัพธ์ที่แทบจะไม่ต่างกัน นอกจากค่าเสียโอกาสแล้วยังมีค่าเสียเวลาที่ใช้เลือกด้วย บางทีเราอาจจะใช้เวลา พลังงานและทรัพยากรอื่นๆมากเกินกว่าค่าเสียโอกาสด้วยซ้ำ

คนจะเห็นตามที่คาดหวัง บอกก่อนว่าส่วนผสมดี อร่อย จูงใจให้คิดไปก่อนว่าอร่อยแล้วจะได้ผล

เรื่องของความซื่อสัตย์
คนเราพร้อมจะโกงเล็กๆน้อยๆเสมอ ยิ่งถ้าสิ่งนั้นห่างจากเงินก้าวหนึ่ง เช่น ปากกาที่ทำงาน ใบเสร็จค่าอาหารเลี้ยงเพื่อนแต่ไปเบิกบริษัท ไม่ว่าโอกาสที่จะถูกจับได้จะมากหรือน้อยเพียงใด การท่องบัญญัติ 10 ประการหรือสิ่งเตือนใจบางอย่างช่วยระงับการตัดสินใจโกงได้ 
การโกงเงินสดจะทำให้ผู้คิดที่จะโกงรู้สึกผิด ต่างจากโกงสิ่งของ
การโกงจำนวนมากๆก็เช่นกัน แต่ถ้าน้อยๆจะรู้สึกว่าไม่เป็นไร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น