วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

บทเรียนจากสุดยอดนักลงทุน ผู้กำชะตากองทุนโลก


1. Walter J.Schloss ลงทุนตามสูตรเกรแฮม คือ แบบ net-net ภายหลังหายากขึ้น จึงดูจากมูลค่าทางบัญชี ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับกำไร และการเติบโต ซื้อบริษัทจำนวนมากคือ 50-100 ตัว สุดท้ายต้องปิดกิจการเพราะอายุมากและไม่สามารถหาการลงทุนที่เข้าเกณฑ์ได้
ในตอนต้นการหางบการเงินบริษัทหายากไม่เป็นที่เปิดเผย ต่างจากปัจจุบันมาก

2. Irving Kahn ลูกศิษย์รุ่นแรกของเกรแฮม ลงทุนแบบ net-net อ่านทุกอย่าง มองโลกแง่ดี และอายุยืน

3. Thomas Kahn ใช้สูตรnet-netแต่ปรับให้ทันสมัยมากขึ้น คือ ปรับราคาที่ดิน สินทรัพย์ทางปัญญาและbrand ให้ความสำคัญกับ absolute value มากกว่า relative value แปลว่าไม่ประเมินในแง่ pe สนใจบริษัท "เทวดาตกสวรรค์" ฐานะการเงินดี ตำแหน่งทางการตลาดดี แต่ประสบปัญหาชั่วคราว กำลังดีขึ้นในอนาคต แต่ถ้าในอนาคตไม่ดี ต้องดูงบดุล ทรัพย์สินเป็นหลักประกัน

4. William Browne ความสวยงามของการหาธุรกิจที่มีคุณภาพและมีความยั่งยืน ซึ่งในที่สุดผลตอบแทนทบต้นระยะยาวจะปรากฎ ไม่ต้องซื้อขายบ่อยๆ ไม่ต้องสนใจราคาที่ขึ้นลงแต่ละวัน แต่คุณต้องเชื่อก่อนว่า หุ้นเป็นตัวแทนของภาคธุรกิจ กระจายซื้อหุ้น 25 ตัวแทนที่จะซื้อแค่ 10 ตัวที่ดีที่สุดเพราะ ไม่รู้ว่าดีที่สุดจริงไหม

5. Jean-Marie Eveillard
อ่านงานของเกรแฮม จึงเริ่มลงทุนแบเน้นคุณค่า เคออกจากตลาดญี่ปุ่น ก่อนล่มสลาย เป็นปี แสดงว่าต้องมีความอดทนและเชื่อมั่นสูงมาก ไม่ยอมลงทุนตอนยุคอินเตอร์เนตบูม ผลตอบแทนแพ้กองทุนอื่นจนลูกค้าถอนเงินไปมาก แต่ยังยึดแนวทางเดิม เมื่อ ฟองสบู่dotcom แตก ลูกค้าก็กลับมา

6. Francisco Garcia Parames ประเมินมูลค่าอย่างง่ายๆ ไม่ใช้ dcf แต่ใช้ fcfคูณpeคาดหวัง และมีการปรับport เมื่อหุ้นราคาขึ้นไป ที่สเปนคิดภาษีของกำไรจากการขายหุ้นที่ 1% ทำให้เปลี่ยนตัวหุ้นมีต้นทุนต่ำ

7. Antony Nutt เน้นการลงทุนเป็นกลุ่มธุรกิจที่ให้ผลตอบแทนสมเหตุสมผล ไม่แห่ตามคนอื่น เงินปันผลเป็นปัจจัยหนึ่งที่เลือก เมื่อกลุ่มธุรกิจให้ผลตอบแทนต่ำก็จะเปลี่ยนไปสู่กลุ่มอื่น

8. Mark Mobius จากคำกล่าวของ Templeton "ตลาดกระทิงเกิดจากความคิดแบบลบ เติบโตแบบแคลงใจ จะเติบโตได้ถ้ารู้สึกว่าทุกอย่างเป็นบวก แต่ก็ต้องมาตายเพราะความปิติอย่างไร้เหตุผล เวลาของการมองโลกแบบเชิงลบที่แย่ที่สุด หมายถึงเวลาที่ดีที่สุด ที่เราเข้าไปทำการซื้อ และเวลาที่เราคิดว่ากำลังดีที่สุด คือเวลาที่เราต้องรีบขายของออก" ลงทุนในตลาดเกิดใหม่ทั่วโลก เช่น ละติน เอเชีย วิเคราะห์เชิงคุณภาพ มากกว่าเชิงปริมาณ

9. Teng Ngiek Lian ปูมหลังเป็นนักบัญชี แล้วก็เป็นผู้บริหารภาพรวมของหลายส่วนธุรกิจในบริษัท ทำให้มีพื้นฐานการวิเคราะห์ธุรกิจ การตลาด ลอจิสติกส์ ลงทุนโดยวิเคราะห์เชิงคุณภาพ หาธุรกิจที่ดีก่อน แล้วค่อยดูราคา เมื่อหุ้นที่เราสนใจตกลงพร้อมๆกับตลาดเป็นสัญญาณน่าซื้อ แต่ถ้าตกลงเป็น sector ต้องตรวจสอบความผิดปกติของ sector ถ้าตกเฉพาะหุ้นต้องวิจัยลึกซึ้ง บางครั้งหุ้นก็ป่วยได้ ถ้าเป็นหวัดจะดีมาก แต่ถ้าเป็นมะเร็งต้องรีบขายทิ้ง

10. Shuhei Abe เรียนภาษามุ่งสู่อินเตอร์ 

11. V-Nee Yeh Value Partners 

12. Chean Cheng Hye หลักการเลือกหุ้นคือ right business, right person,  right price

วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556

สนุกคิดในชีวิตประจำวันแบบเศรษฐศาสตร์



สิ่งที่เหมือนจะไร้เหตุผลในชีวิตประจำวัน แต่กลับมีเหตุผลอย่างชัดเจนแต่ถูกมองข้ามไป ได้รับการอธิบายอย่างชัดเจนด้วยเศรษฐศาสตร์
เช่น ทำไมกล่องนมเป็นสี่เหลี่ยม แต่ขวดน้ำอัดลมเป็นทรงกระบอก

แต่สิ่งที่ได้จากหนังสืออย่างมาก คือ "วิธีการสอน"  การสอนแบบเดิม บางทีเข้าใจแนวคิดไม่ลึกซึ้งและนำมาประยุกต์ใช้งานไม่ได้ ได้เพียงท่องจำตามตำรา 
การสอนแบบหนึ่ง คือ สอนจากชีวิตประจำวัน ให้ตั้งคำถามเร่ิมจากสิ่งรอบตัว แล้วใช้เศรษฐศาสตร์อธิบาย  

วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

A Random Walk Down Wallstreet





ความเชื่อพื้นฐาน : การเลือกซื้อหุ้นรายตัว หรือ ซื้อกองทุนไม่มีประโยชน์ การซื้อ Index fund เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด จากความมีประสิทธิภาพของตลาด
การศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย มี 2 แนวใหญ่ คือ
1. The firm-foundation theory ประเมินมูลค่าบริษัท โดย discount กำไรอนาคตเทียบเป็นมูลค่าปัจจุบัน แล้วดูว่าราคาตลาดเป็นอย่างไร จุดอ่อน มี 2 ส่วนคือ ต้องเรียนรู้เยอะ และ ต้องคาดเดาอนาคตเยอะ ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย
2. The Castle-in-the-air theory ราคาหุ้นขึ้นอยู่กับความเห็นฝูงชน ซื้อหุ้นที่คาดว่าในอนาคตจะมีคนมาซื้อต่อด้วยราคาที่สูงกว่านี้

ประวัติศาสตร์ ความบ้าคลั่งของฝูงชน
1. The tulip-bulb craze
เกิดในช่วงศตวรรษที่ 17 ช่วงที่บ้าคลั่งที่สุดประมาณปี 1634-1637 เริ่มจากหัวทิวลิปติดเชื้อไวรัส ทำให้เกิดสีแปลกตา จึงเริ่มมีราคา ฝูงชนแย่งกันซื้อและคาดหวังว่าจะมีคนซื้อต่อด้วยราคาที่สูงขึ้น ความอดทนของคนที่มีเพื่อนบ้านทำกำไรมหาศาลก็หมดลง ใครไม่ซื้อจะรู้สึกว่าโง่ มีการพัฒนาไปถึงมี call option แต่สุดท้ายราคาก็ตกลงอย่างเร็ว
2. The south sea bubble
บริษัทที่ได้สิทธิเดินเรือเพียงผู้เดียว ได้รับความคุ้มครองจากรัฐ แม้ว่าไม่มีแผนรายได้ และกำไร เช่น การค้าทาส แม้ว่าได้สิทธิเพียงผู้เดียว แต่ไม่มีกำไร เพราะอัตราการตายของทาสสูง
โฆษณาว่ามีการทำกำไรจากสิ่งที่ฟังไม่ค่อยเข้าใจ เช่น อุปกรณ์แปลกๆ แต่ไม่มีคนสนใจ bussiness model สนใจแต่ราคาที่กำลังขึ้น แม้แต่ ไอแซค นิวตัน สุดท้ายผู้บริหารทยอยขายหุ้น เมื่อข่าวรั่ว ราคาก็ตก ดูจาก ชาร์ท ขึ้น-ลงเร็วมาก ใช้เวลาสิ้นสุด ไม่ถึงปี
3. Great depression
มีนา 1928 ถึง กันยา 1929 หุ้นให้ผลตอบแทน เท่ากับ ก่อนหน้านั้น 6 ปีรวมกัน เกิดจากการปั่นหุ้น สร้างราคา ซื้อขายกันไปมาระหว่างโบรค ทยอยให้ข่าวดี เมื่อฝูงชนเข้ามาก็ปล่อยของ
ช่วงตุลาถึงพฤศจิกายน 1929 เริ่มราคาตกอย่างรุนแรง และต่อเนื่องไปอีกหลายปี บางคนว่า "ราคาสูงกว่าปะจจัยพื้นฐานมาก" บ้างว่า "fed ขึ้นดอกเบี้ยเร็วและแรงเกินไป"
4. ยุค 60's ความเฟื่องฟูของยุคอิเล็คทรอนิค พลังของคำว่า "Growth" เช่น IBM และ Texas หุ้นบางตัวที่เพ่ิงเข้าตลาด ราคาขึ้นจาก 2 เป็น 14 ภายในเวลา 2 สัปดาห์ กลยุทธ์การเติบโตอย่างหนึ่งคือ การควบรวม โดยอาศัยคำว่า "Synergy" หรือ 2+2 เป็น 5 ในบางกรณีเป็นการควบรวมกับบริษัทที่ทำธุรกิจไม่เหมือนกันอีกต่างหาก เช่น บริษัทอิเล็คที่มี pe 20 กับ บริษัทอาหารที่มี pe 10 เมื่อควบรวมแล้วตลาดให้ราคาที่ pe20 ทำให้ราคาหุ้นสูงเกินจริง เมื่อเวลาผ่านไปเป็นปี ผลประกอบการออกมา แสดงให้เห็นว่า ไม่ดีดังที่คาดทำให้ราคาหุ้นกลับมาที่สภาพความเป็นจริง หลังจากนั้นกองทุนประดิษฐ์คำขึ้นมาใหม่ คือ "Perform" แสดงว่ากองทุนของเขาทำผลตอบแทนได้ดีกว่ากองทุนอื่น และดีกว่าตลาด กระตุ้นให้คนเห็นความสำคัญของจ็อกกี้มากกว่าม้า 
5. ยุค nifty fifty ปี 1970s หลังการล่มในปี 1960 เกิดแนวคิดใหท่ คือ ซื้อบริษัทที่ดี ใหญ่ และเติบโตดี คุณภาพสูง ซึ่งมีราวๆแค่ 4 โหลทั้งตลาด เช่น IBM Xerox AvonProduct Kodak McDonald's Polaroid Disney ซื้อแล้วไม่ต้องดูได้เลย หลายบริษัทมี pe90 ในปี 1972 และเหลือ pe15 ในปี 1980
6. ยุค 1980 คลั่ง biotech กับ microelectronic
ซึ่งเป็นบริษัทที่ตั้งใหม่ มีรายได้น้อยมาก และยังไม่ทำกำไร นักวิเคราะห์จึงต้องหาวิธีประเมินใหม่ คือ คิดมูลค่าตามผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในขั้นตอนกำลังพัฒนา คาดการณ์รายได้ margin สุดท้ายหุ้นลง 3ใน4
7. ช่วงปี 1985-1990 มีฟองสบู่อสังหา และหุ้นที่ญี่ปุ่น ที่ดินที่ญี่ปุ่นมีน้อยกว่าอเมริกา 25 เท่า แต่ราคาสูงกว่า 5 เท่า สามารถซื้อทั้งอเมริกาโดยกรุงโตเกียวแห่งเดียว ซื้อทั้งแคริฟอเนียร์เพียงแค่ขาย Imperial Palace ตลาดหุ้นมี pe60 ในขณะที่อเมริกา pe15 อังกฤษ pe12 บริษัท NTT บริษัทเดียวมี มูลค่าเท่ากับ At&t ibm exxon GE GM รวมกัน แต่นักวิเคราะห์ก็สามารถอธิบายได้ เช่น การคอดค่าเสื่อมที่ไม่เท่ากัน ดอกเบี้ยที่ญี่ปุ่นต่ำมาก ความหนาแน่นของประชากร กฎระเบียบ ภาษี 
ในปี 1980 นิคเคอิ เกือบ 40000 จุด กลางสิงหา 1992  ปิดที่ 14309 จุด ลดลง 63% ช่วงเวลาที่ขึ้นมากๆ คงที่และตกใช้เวลาราว 4 ปี

8. กรกฎาคม 1999 ถึง มีนา 2000 ใช้เวลาปีกว่าขึ้นไป 3เท่า และสิ้นสุดลงเมื่อกรกฎาคม 2002 (อีก 2ปีต่อมาค่อยๆลดลงจนเกิดเสถียรภาพ) การเกิดขึ้นของอินเตอร์เนต ทั้งเทคโนโลยีใหม่และช่องทางการจัดจำหน่ายใหม่ บางตัว pe เป็นเลขสามหลัก บางตัว pe ติดลบ เมื่อสิ้นสุดฟองสบู่ การขาดทุนเกิดขึ้นที่ราว 98% แม้ว่าบริษัมจะรอดกลับมาก็ตาม เช่น amazon cisco และมีอีกหลายบริษัทล้มละลาย 
ทุกครั้งที่เกิดวิกฤตฟองสบู่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ เช่น เทคโนโลยีใหม่ ช่องทางการจัดจำหน่ายใหม่ ระบบการเงินใหม่ สร้างความคาดหวัง สร้าง story ทำให้คนโลภมีเหตุผลที่จะเข้ามาทำกำไร 
9. ปลาย 2000s เกิดฟองสบู่อสังหาที่ใหญ่ที่สุด เมื่อ รัฐกำหนดดอกเบี้ยกู้บ้านต่ำ ไม่ต้องดาวน์ ราคาเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำsecuritizeหนี้ ประกันหนี้ สุดท้ายฟองสบู่แตก

technical analysis
เหตุผล 3 ข้อที่ทำให้วิธีนี้ทำกำไรได้
1. จิตวิทยาฝูงชน
2. ความไม่เท่าเทียมกันของข้อมูล ถ้า มีอินไซด์จะรู้ได้ก่อน
3. การไม่ตอบสนองข้อมูลของตลาดทันที
เหตุผลที่ไม่เวิร์ค
1. ราคาที่ขึ้นลงแรงๆ ทำให้พลาด
2. ถ้าทุกคนทำเหมือนกัน ก็ไม่มีใครทำกำไรได้

fundamental analysis
จุดอ่อน
1. การคาดการณ์อนาคต ไม่สามารถพิสูจน์ได้ในปัจจุบัน มีปัจจัยเปลี่ยนแปลงในอนาคตมาก เช่น คู่แข่ง สงครามราคา ภัยธรรมชาติ เหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง
2. ตัวเลขที่กำหนดขึ้นไม่แม่นยำพอ เช่น โตไปอีก 10,20 ปี ก็ให้ผลที่คำนวณได้ต่างกันมาก
3. ยอมจ่ายมากแค่ไหนสำหรับการเติบโต
4. สำหรับ นักวิเคราะห์ อาจผิดพลาด เพราะ conflick of interest , แรงกดดันจาก port ของโบรคเอง

modern portfolio theory
ความเสี่ยง คือ โอกาสที่จะเสียหาย
ใน mpt ความเสี่ยง คือ ความแตกต่างระหว่าง ผลตอบแทนเฉลี่ยกับผลตอบแทนคาดหวัง ซึ่งรวมผลตอนที่กำไรเยอะๆด้วย
จากการกระจายปกติ จะสมมาตร ดังนั้น ควาทเสี่ยงเป็นครึ่งนึงของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ความเสี่ยงมี2ชนิด คือ
1. systematic risk ไม่สามารถกำจัดได้ คำนวณค่า เบต้า บอกว่า แกว่งมากน้อยกว่าตลาดแค่ไหน เบต้า=1 แปลว่าเท่ากับตลาด เบต้า=2 แปลว่าแกว่งมากกว่าตลาด 2เท่า ตลาดขึ้นลง 10% หุ้นขึ้นลง 20%
2. unsystemtic risk กำจัดได้โดยการกระจายซื้อหุ้นหลายตัว

capm บอกว่า high risk high return แต่มีงานวิจัยขัดแย้ง จึงมีโมเดลวัดความเสี่ยงแบบใหม่ เช่น arbitrage pricing theory
คำนึงถึง อัตราดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อ รายได้ประชาชาติ อัตราแลกเปลี่ยน
The fama-french three-factor model
มีตัวแปร 3 ตัวในการระบุความเสี่ยง
  1. เบต้า จาก CAPM
  2. Size จาก markercap
  3. value จาก book value
ปัจจุบันยังไม่มีโมเดลไหน อธิบายเรื่องความเสี่ยงได้สมบูรณ์

ทฤษฎีต่างๆของเศรษฐศาสตร์ในอดีต มีสมมติฐานว่าคนมีเหตุผล แต่ในความเป็นจริงคนทำตามอารมณ์มากกว่าเหตุผล จึงเกิดสาขาใหม่ของเศรษฐศาสตร์คือ เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม และในตลาดหุ้นก็เป็นตัวอธิบายได้ดี เช่น มั่นใจเกิน, กลัวความสูญเสีย, ประเมินสิ่งที่เป็นเจ้าของแล้วสูงเกิน

ทฤษฎีตลาดมีประสิทธิภาพ อาจไม่เป็นจริงตลอดเวลา แต่ความไม่มีประสิทธิภาพจะคงอยู่ไม่นาน ความแตกต่างระหว่างตลาดมีประสิทธิภาพตลอดเวลากับมีประสิทธิภาพส่วนใหญ่แตกต่างอย่างใหญ่หลวง
คู่มือลงทุนแบบช้าแต่ขัวร์
  1. เริ่มออม
  2. มีเงินสำรองและทำประกัน
  3. เงินสำรองควรเก็บในที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด เช่น money market fund,internet bank,กองทุนต่างๆ เป็นต้น
  4. ศึกษาเรื่องการลดหย่อนภาษี
  5. การลงทุนแต่ละชนิดเหมาะกับคนไม่เหมือนกัน
  6. ลงทุนในอสังหา เช่น บ้านตัวเอง หรือกองทุน REITs
  7. ลงทุนในพันธบัตร
วิธีการลงทุนในตลาดหุ้น
  1. แบบไม่ต้องใช้สมองเลย คือ ซื้อ index fund เพราะกองทุนส่วนใหญ่แพ้ตลาด อีกทั้ง index fund เก็บค่าธรรมเนียมต่อปีถูกมาก หรือไม่ก็ซื้อ ETF
  2. เลือกหุ้นเอง ปฏิบัติตามกฎต่อไปนี้
      2.1 ดูเฉพาะบริษัทที่จะเติบโตมากกว่าค่าเฉลี่ยไปอีกอย่างน้อย 5 ปี
      2.2 ซื้อเมื่อราคาสมเหตุสมผล pe อาจสูงกว่าค่าเฉลี่ยได้ แต่ต้องมี growth ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยด้วย(จึงไม่ใช่กลยุทธ์ pe ต่ำ)
            2.3 ระวังความคาดหวังของนักลงทุน เพราะจะทำให้ราคาขึ้นอย่างไร้เหตุผล
            2.4อย่าทำการซื้อขายบ่อย
     3.   จ้างมืออาชีพบริหารพอร์ตให้เลย