วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

บทเรียนจากสุดยอดนักลงทุน ผู้กำชะตากองทุนโลก


1. Walter J.Schloss ลงทุนตามสูตรเกรแฮม คือ แบบ net-net ภายหลังหายากขึ้น จึงดูจากมูลค่าทางบัญชี ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับกำไร และการเติบโต ซื้อบริษัทจำนวนมากคือ 50-100 ตัว สุดท้ายต้องปิดกิจการเพราะอายุมากและไม่สามารถหาการลงทุนที่เข้าเกณฑ์ได้
ในตอนต้นการหางบการเงินบริษัทหายากไม่เป็นที่เปิดเผย ต่างจากปัจจุบันมาก

2. Irving Kahn ลูกศิษย์รุ่นแรกของเกรแฮม ลงทุนแบบ net-net อ่านทุกอย่าง มองโลกแง่ดี และอายุยืน

3. Thomas Kahn ใช้สูตรnet-netแต่ปรับให้ทันสมัยมากขึ้น คือ ปรับราคาที่ดิน สินทรัพย์ทางปัญญาและbrand ให้ความสำคัญกับ absolute value มากกว่า relative value แปลว่าไม่ประเมินในแง่ pe สนใจบริษัท "เทวดาตกสวรรค์" ฐานะการเงินดี ตำแหน่งทางการตลาดดี แต่ประสบปัญหาชั่วคราว กำลังดีขึ้นในอนาคต แต่ถ้าในอนาคตไม่ดี ต้องดูงบดุล ทรัพย์สินเป็นหลักประกัน

4. William Browne ความสวยงามของการหาธุรกิจที่มีคุณภาพและมีความยั่งยืน ซึ่งในที่สุดผลตอบแทนทบต้นระยะยาวจะปรากฎ ไม่ต้องซื้อขายบ่อยๆ ไม่ต้องสนใจราคาที่ขึ้นลงแต่ละวัน แต่คุณต้องเชื่อก่อนว่า หุ้นเป็นตัวแทนของภาคธุรกิจ กระจายซื้อหุ้น 25 ตัวแทนที่จะซื้อแค่ 10 ตัวที่ดีที่สุดเพราะ ไม่รู้ว่าดีที่สุดจริงไหม

5. Jean-Marie Eveillard
อ่านงานของเกรแฮม จึงเริ่มลงทุนแบเน้นคุณค่า เคออกจากตลาดญี่ปุ่น ก่อนล่มสลาย เป็นปี แสดงว่าต้องมีความอดทนและเชื่อมั่นสูงมาก ไม่ยอมลงทุนตอนยุคอินเตอร์เนตบูม ผลตอบแทนแพ้กองทุนอื่นจนลูกค้าถอนเงินไปมาก แต่ยังยึดแนวทางเดิม เมื่อ ฟองสบู่dotcom แตก ลูกค้าก็กลับมา

6. Francisco Garcia Parames ประเมินมูลค่าอย่างง่ายๆ ไม่ใช้ dcf แต่ใช้ fcfคูณpeคาดหวัง และมีการปรับport เมื่อหุ้นราคาขึ้นไป ที่สเปนคิดภาษีของกำไรจากการขายหุ้นที่ 1% ทำให้เปลี่ยนตัวหุ้นมีต้นทุนต่ำ

7. Antony Nutt เน้นการลงทุนเป็นกลุ่มธุรกิจที่ให้ผลตอบแทนสมเหตุสมผล ไม่แห่ตามคนอื่น เงินปันผลเป็นปัจจัยหนึ่งที่เลือก เมื่อกลุ่มธุรกิจให้ผลตอบแทนต่ำก็จะเปลี่ยนไปสู่กลุ่มอื่น

8. Mark Mobius จากคำกล่าวของ Templeton "ตลาดกระทิงเกิดจากความคิดแบบลบ เติบโตแบบแคลงใจ จะเติบโตได้ถ้ารู้สึกว่าทุกอย่างเป็นบวก แต่ก็ต้องมาตายเพราะความปิติอย่างไร้เหตุผล เวลาของการมองโลกแบบเชิงลบที่แย่ที่สุด หมายถึงเวลาที่ดีที่สุด ที่เราเข้าไปทำการซื้อ และเวลาที่เราคิดว่ากำลังดีที่สุด คือเวลาที่เราต้องรีบขายของออก" ลงทุนในตลาดเกิดใหม่ทั่วโลก เช่น ละติน เอเชีย วิเคราะห์เชิงคุณภาพ มากกว่าเชิงปริมาณ

9. Teng Ngiek Lian ปูมหลังเป็นนักบัญชี แล้วก็เป็นผู้บริหารภาพรวมของหลายส่วนธุรกิจในบริษัท ทำให้มีพื้นฐานการวิเคราะห์ธุรกิจ การตลาด ลอจิสติกส์ ลงทุนโดยวิเคราะห์เชิงคุณภาพ หาธุรกิจที่ดีก่อน แล้วค่อยดูราคา เมื่อหุ้นที่เราสนใจตกลงพร้อมๆกับตลาดเป็นสัญญาณน่าซื้อ แต่ถ้าตกลงเป็น sector ต้องตรวจสอบความผิดปกติของ sector ถ้าตกเฉพาะหุ้นต้องวิจัยลึกซึ้ง บางครั้งหุ้นก็ป่วยได้ ถ้าเป็นหวัดจะดีมาก แต่ถ้าเป็นมะเร็งต้องรีบขายทิ้ง

10. Shuhei Abe เรียนภาษามุ่งสู่อินเตอร์ 

11. V-Nee Yeh Value Partners 

12. Chean Cheng Hye หลักการเลือกหุ้นคือ right business, right person,  right price

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น