วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว (The One-Straw Revolution)
มนุษย์จะทำงานได้ดีที่สุด เมื่อเขาทำเพื่อความดีงามของมนุษย์ ไม่ใช่เพื่อ "ผลผลิตที่สูงขึ้น" หรือเพื่อ "เพิ่มประสิทธิภาพ" ซึ่งเป็นเป้าหมายในการดำเนินงานเกษตรกรรมแบบอุตสาหกรรม
ฟูกูโอกะกล่าวว่า "เป้าหมายสูงสุดของเกษตรกรรมไม่ใช่การเพาะปลูกพืชผล แต่คือ การบ่มเพาะความสมบูรณ์แห่งความเป็นมนุษย์" เรามิได้มีชีวิตอยู่ด้วยอาหารเพียงอย่างเดียว
ความเห็น : ช่างแตกต่างอย่างมากมายกันสิ่งที่เรียนรู้มาตลอดชีวิต แล้วเราเรียนวิศวะไปเพื่ิออะไร
การเข้าไปแทรกแซงของมนุษย์ก่อให้เกิดสิ่งที่ผิดพลาดขึ้น และถ้าความเสียหายดังกล่าวถูกปล่อยทิ้งไว้โดยไม่แก้ไข จนผลร้ายนั้นสะสมมากเข้า คนเราก็จะต้องทุ่มเทความพยายามทั้งมวลเพื่อเข้าไปแก้ไขมัน หากการแก้ไขลุล่วงไปด้วยดี พวกเขาก็จะคิดว่าวิธีการเหล่านั้นเป็นความสำเร็จอันงดงาม คนเรามักทำเช่นนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า มันก็เหมือนกับคนโง่ที่ปีนขึ้นไปบนหลังคาบ้าน แล้วทำกระเบื้องบนหลังคาแตก พอฝนตกลงมา เพดานก็เริ่มเปื่อยและปล่อยน้ำฝนรั่วลงมา เขาก็จะรีบปีนขึ้นไปซ่อมหลังคา จากนั้นก็ดีใจที่เขาได้ค้นพบวิธีการแก้ปัญหาที่วิเศษมหัศจรรย์
นักวิทยาศาสตร์ก็เป็นเช่นเดียวกัน เขาคร่ำเคร่งกับการอ่านตำราทั้งวันทั้งคืน ซึ่งเป็นการบั่นทอนสายตาของตน และในที่สุดก็สายตาสั้น หากคุณนึกกังขาว่าอะไรหนอที่ทำให้เขาถึงกับคร่ำเคร่งศึกษาอย่างจริงจังตลอดเวลาเช่นนั้น คำตอบก็คือ เขาเป็นนักประดิษฐ์แว่นตาสำหรับคนสายตาสั้น
มนุษย์เป็นสัตว์โลกชนิดเดียวที่ต้องทำงาน และผมคิดว่านี่เป็นเรื่องน่าหัวเราะมากที่สุดในโลก สัตว์โลกชนิดอื่นหาเลี้ยงชีพด้วยการมีชีวิตอยู่ แต่มนุษย์ทำงานเหมือนคนบ้า โดยคิดว่าเขาต้องทำเช่นนั้นเพื่อที่จะมีชีวิตอยู่ ยิ่งงานนั้นยิ่งใหญ่เท่าไหร่ ความท้าทายมากเท่าไหร่ เขาจะคิดว่ามันยิ่งวิเศษเท่านั้น จะเป็นการดีถ้าเลิกคิดในลักษณะเช่นนั้นได้ และใช้ชีวิตอยู่อย่างง่ายๆ ชีวิตที่สะดวกสบายและเต็มไปด้วยเวลาว่าง ผมคิดว่าการใช้ชีวิตของสัตว์ในเขตร้อนที่จะออกมาในตอนเช้าและตอนเย็นเพื่อดูว่ามีอะไรกินบ้าง และมีเวลาว่างในยามบ่ายสำหรับงีบหลับ เป็นวิถีชีวิตที่ดีวิเศษ
ป้ายกำกับ:
การใช้ชีวิต,
ปรัชญา
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น