วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แผนที่ชีวิต


  1. ชีวิตคืออะไร
เมื่อแยกส่วนย่อยๆของชีวิตออกแล้ว ประกอบไปด้วย 5 ส่วน เรียกว่า ขันธ์ห้า ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อแยกต่อไปจะพบว่าไม่ใช่ตัวตน เป็นเพียงสมมติบัญญัติ 
เมื่อโกรธ ถามตัวเองว่าโกรธอะไร โกรธขน โกรธหนัง อย่างนั้นหรือ 
ชีวิตรับรู้โลกได้ 6 ทาง เรียกว่า ทวาร6 หรือ อายตนะ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เมื่อเกิดผัสสะกับอายตนะเหล่านี้ จะเกิดสุขทุกข์ เรียกว่าเวทนา เกิดความพอใจไม่พอใจ อยากให้เกิดอีก เรียกว่า ตัณหา ตัณหาจึงเป็นตัวสั่งให้ชีวิตดำเนินไปด้วยความไม่รู้ เราต้องแทนที่ตัณหาด้วยฉันทะ และหยุดฉันทะด้วยการทำให้สำเร็จ

2. ชีวิต เป็นอย่างไร
เป็นไตรลักษณ์ ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ ไม่มีตัวตน
สันตติ บัง อนิจจลักษณะ ความสืบเนื่องบังความไม่เที่ยง ร่างกายเปลี่ยนแปลงเสื่อมสลายตลอดเวลา แต่ มองไม่เห็น
อิริยาบท บัง ทุกขลักษณะ อยู่ท่าเดิมนาน ๆ ก็เมื่อย ปวด เปลี่ยนท่าก็คลาย อิริยาบทจึงบังทุกข์
ฆนะ บัง อนัตตา ความเป็นแท่ง ช้ิน อัน สัญญาต่างๆ เห็นเสื้อไม่เห็นผ้า เห็นผ้าไม่เห็นด้าย ทุกสิ่งเกิดจากส่วนประกอบย่อยๆลงไปเรื่อยๆ ไม่มีตัวตนที่แท้จริง

  1. ชีวิตเป็นไปอย่างไร 
ไตรลักษณ์เป็นเพียงอาการ ที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย 
ไตรลักษณ์ บอกว่าเป็นอย่างไร ส่วนทำไมต้องเป็นอย่างนั้นให้ดูกฎ ปฏิจจสมุปบาท
"มองตามเหตุปัจจัย" และ "เป็นไปตามเหตุปัจจัย" ไม่นำความอยากให้มี ให้เป็น เป็นตัวตั้ง แต่ใช้หลักของเหตุปัจจัยเป็นตัวตั้ง จิตใจจึงปลอดโปร่ง มุ่งทำเหตุปัจจัยให้เหมาะให้ควร

  1. ชีวิต ควรให้เป็นอย่างไร
หลักในการสร้างชีวิตที่ดี และมีความสุขนี้ไม่มีอะไรมาก ก็คือ "การเข้าถึงธรรม" เจริญภาวนา เมื่อมีความสุขภายในแล้ว ความสุขภายนอกก็ไม่จำเป็น

  1. ชีวิตควรเป็นอยู่อย่างไร
ศีล   ศีล5 อยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างไร้ปัญหา
ศีล8 ขัดเกลาตนเอง สอนตนเองว่าไม่มีกามคุณก็สุขได้
สมาธิ   มาพร้อมสติ คือเชือกที่ผูกลิงหรือจิต ไว้กับหลักหรืออารมณ์ในอารมณ์หนึ่ง
ปัญญา เมื่อเกิดสมาธิแล้วนำมาสร้างปัญญารู้แจ้ง

สติดึงเอาจิตมากำกับไว้กับสิ่งที่ต้องการ หรือสิ่งที่เราควรจะเกี่ยวข้องทำให้สิ่งนั้นอยู่ในการรับรู้ของจิต ไม่หลุดลอย ไม่หล่นหาย ไม่พลัดกันไปเสีย นี้คือหน้าที่ของสติ
สติ ต่างจากสมาธิอย่างหร
สติ คือ การที่ทำให้จิต ดึง จับ ตรึงกับอารมณ์ อารมณ์หนึ่ง ไม่ให้พลัดพราก จากนั้น การที่จิตแนบแน่นกับอารมณ์หนึ่ง เรียกว่าสมาธิ สติเป็นตัวเร่ิมตัน เป็นตัวดึงให้กลับมา ทำงานหนักในตอนแรก เมื่อมีสมาธิแน่วแน่ขึ้น สมาธิจะเป็นตัวเด่น สติคอยอยู่ห่างๆ ทำงานไม่หนักเหมือนตอนแรก เมื่อประกอบไปด้วยสมาธิมากแล้ว จิตก็พร้อมที่จะทำงานด้วยปัญญา เพื่อความรู้แจ้ง
ไม่หยุดดื่มด่ำเพียงความสุขทางจิตเพียงเท่านั้น เพราะเป้าหมายสำคัญ คือปัญญาที่จะตัดกิเลศโดยสิ้นเชิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น