วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

พฤติกรรม พยากรณ์





เมื่อมีตัวเลือกเปรียบเทียบ ได้แก่ A ,B คนอาจเลือกไม่ได้ ถ้าใส่ตัวล่อ(-A) มีผลให้เกิดการเปรียบเทียบ ทำให้คนมีแนวโน้มเลือก A มากขึ้น

เศรษฐศาสตร์คลาสสิค บอกว่า ราคาเป็นไปตามอุปสงค์ อุปทาน ซึ่งอาจจริงกับสินค้าที่สามารถเปรียบเทียบได้ คล้ายกัน สำหรับสินค้าที่ไม่สามารถมีตัวเปรียบเทียบ การตั้งราคามีผลต่อการตัดสินใจซื้อ โดยราคาแรกที่เห็นจะถูกฝังในความคิด เกิดป็นราคาเปรียบเทียบ 

การตั้งราคา "ไข่มุกดำ" ไว้ที่ราคาสูง สร้างเรื่องราวการหายาก ทำให้ของที่ไม่มีราคากลายเป็นของมีราคาได้

การตั้งราคาอย่างสุ่มเป็นราคาเริ่มต้น กลับกลายเป็นราคาที่คนจำได้และเก็บไว้เปรียบเทียบ แม้ว่าราคานั้นไม่สมเหตุสมผลก็ตาม
คนที่เห็นราคาเริ่มต้นสูงกว่ายอมจ่ายแพงกว่า สำหรับของสิ่งเดียวกัน

จูงใจโดยการสร้าง วิธีคิดใหม่ จาก "งาน" เป็น "เรื่องสนุก" ได้งานโดยไม่ต้องจ้าง

จากแนวคิดเรื่องอุปสงค์อุปทาน เมื่อสินค้าราคาเพิ่มขึ้น ความต้องการลดลง เมื่ออธิบายในแง่การผูกติดราคา สมมติว่า คน "จำราคาเดิมไม่ได้" แน่นอนว่าคงไม่มีผลต่อปริมาณการใช้จ่าย ที่คนใช้จ่ายน้อยลงเพราะ เปรียบเทียบกับราคาเดิม เมื่อคนใช้จ่ายบ่อยขึ้นก็จะผูกติดกับราคาใหม่ การบริโภคจะกลับมาที่เดิม

ถ้าจะลดราคาสินค้าให้เหลือน้อยๆ สู้แจกฟรีไปเลยดีกว่า เพราะ มีผลต่อจิตใจและการเลือกของคนมากกว่า

การผสานกันของสองกลยุทธ์
1.ตั้งราคาเริ่มต้นให้สูงเข้าไว้
2. แล้วเปลี่ยนเป็นแจกฟรี

เรากำลังอยู่บนโลก 2 ใบที่ต่างกัน 
1. โลกที่มีบรรทัดฐานทางสังคม เป็นการช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน ไม่ได้มองที่ตัวเงิน เน้นความสัมพันธ์ ความภูมิใจ
2. โลกที่มีบรรทัดฐานทางตลาด เป็นการแลกเปลี่ยนด้วยผลตอบแทนชัดแจ้ง

การทดลอง ให้คนทำงานหนึ่ง โดยบอกผลตอบแทนที่จะได้รับ
1. ให้เงินจำนวนน้อย.   งานที่ได้น้อย
2. ให้เงินจำนวนมาก งานที่ได้มาก
3.ขอความช่วยเหลือ ไม่บอกเรื่องเงิน งานที่ได้มาก
4. ให้ของขวัญเล็กน้อย และของขวัญมูลค่ามาก งานที่ได้มาก
5. ให้ของขวัญโดยบอกมูลค่าของขวัญด้วย ได้ผลลัพธ์เหมือนให้เงิน

ในภาวะอารมณ์ที่พลุ่งพล่าน โกรธ หิว อารมณ์ทางเพศ หัวเสีย รำคาญใจ ฯลฯ ทำให้การตัดสินใจผิดจากภาวะปกติมาก แทบจะหน้ามือเป็นหลังมือ

วิธีแก้ไขอย่างหนึ่งคือ "รอก่อน" อย่าเพิ่งทำอะไร รอให้เวลาผ่านไปซักวันสองวันก่อน

ปัญหาการผัดวันประกันพรุ่ง
ทำการทดลอง 3 กลุ่ม
1. กำหนดเส้นตายส่งงานชัดเจน ให้ผลดีสุด
2. ไม่กำหนดเส้นตายเลย ให้ผลแย่สุด
3. ให้กำหนดเส้นตายเอง อาจเลือกส่งเร็วหรือช้าก็ได้ ถ้าเลือกส่งเร็ว แล้วไม่ทันกำหนดจะถูกหักคะแนน ให้ผลเป็นกลาง
สรุป นิสัยประจำตัวของคน คือ ผัดวันประกันพรุ่ง การสร้างเส้นตายทำให้งานมีประสิทธิภาพขึ้นได้

การทดลองหนึ่ง ทำให้ทราบว่า เมื่อเราเป็นเจ้าของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีแนวโน้มที่เราจะตีค่าสิ่งเหล่านั้นสูงกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็นเจ้าของ และไม่อยากสูญเสียสิ่งนั้นไป เช่น เมื่อเป็นเจ้าของรถ เจ้าของรถจะตีค่ารถคันนั้นสูงกว่าผู้ซื้อ เหตุผลหนึ่งที่อธิบายได้ คือ เจ้าของ เห็น "ความทรงจำดีดีเกี่ยวกับรถคันนั้น" ผู้ซื้อเห็น "ข้อเสียเช่นควันดำ"

การเลือกระหว่าง 2 สิ่งที่คล้ายกันมากหรือให้ผลลัพธ์ที่แทบจะไม่ต่างกัน นอกจากค่าเสียโอกาสแล้วยังมีค่าเสียเวลาที่ใช้เลือกด้วย บางทีเราอาจจะใช้เวลา พลังงานและทรัพยากรอื่นๆมากเกินกว่าค่าเสียโอกาสด้วยซ้ำ

คนจะเห็นตามที่คาดหวัง บอกก่อนว่าส่วนผสมดี อร่อย จูงใจให้คิดไปก่อนว่าอร่อยแล้วจะได้ผล

เรื่องของความซื่อสัตย์
คนเราพร้อมจะโกงเล็กๆน้อยๆเสมอ ยิ่งถ้าสิ่งนั้นห่างจากเงินก้าวหนึ่ง เช่น ปากกาที่ทำงาน ใบเสร็จค่าอาหารเลี้ยงเพื่อนแต่ไปเบิกบริษัท ไม่ว่าโอกาสที่จะถูกจับได้จะมากหรือน้อยเพียงใด การท่องบัญญัติ 10 ประการหรือสิ่งเตือนใจบางอย่างช่วยระงับการตัดสินใจโกงได้ 
การโกงเงินสดจะทำให้ผู้คิดที่จะโกงรู้สึกผิด ต่างจากโกงสิ่งของ
การโกงจำนวนมากๆก็เช่นกัน แต่ถ้าน้อยๆจะรู้สึกว่าไม่เป็นไร

วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

Good to Great


Good to Great


Good is the enemy of great.



  1. Disciplined People

    1.1 Level 5 Leadership

    ลักษณะ ถ่อมตน สมถะ เอาจริงเอาจัง ทะเยอทยาน ให้ความสำคัญกับบริษํทมากกว่าตัวเอง คัดเลือกผู้บริหารรุ่นต่อไป ผลักดันให้องค์การสำเร็จมากกว่ารุ่นตนเอง จากข้อมูล 10 ใน 11 บริษัทมาจากคนใน ไม่ใช่คนนอก



ให้เครดิตความสำเร็จกับคนอื่นๆ หรือเหตุการณ์บางอย่างนอกจากตนเอง ถ้าไม่มีก็ให้เครดิตกับโชค ถ้าผลลัพธ์ไม่ดี ไม่เคยโทษโชค แต่จะโทษตัวเอง
    1. First Who …. Then What

      องค์กรจะยิ่งใหญ่ เริ่มต้นจากผู้บริหารเลือกคนอย่างถูกต้องก่อน แล้วจึงกำหนดทิศทางขององค์กร ไม่ได้เร่ิมจากกำหนดทิศทางแล้วค่อยหาคน คนที่มีคุณภาพจะช่วยกันกำหนดทิศทางที่ถูกต้องขององค์กรเอง ถ้าเลือกคนผิด แม้มีทิศทางก็ไม่สามารถขับเคลื่อนองค์กรไปได้
      จุดสำคัญ คือ หาคนเป็นอันดับแรก ก่อนวิสัยทัศน์ ก่อนแผนกลยุทธ์ ก่อนการจัดตั้งโครงสร้างองค์กร ก่อนหาเทคโนโลยี หาคนที่ใช่ กระตุ้นพวกเขา ถามคำถามที่ถูกต้อง
      ไม่มีความสัมพันธ์ ระหว่างค่าตอบแทน ไม่ว่าจะเป็น การให้หุ้น เงินเดือนสูงๆ โบนัสมากๆ กับการจ้างคนที่มีคุณภาพ
      ตัวอย่าง Nucor จ้างคน 5 คนทำงานเท่าคน 10 คน จ่ายค่าตอบแทนเท่ากัน 8 คน
      Good to Great Company มีคน 2 ประเภท คือ อยู่กับบริษัทอย่างยาวนาน กับ ออกจากบริษัททันที
      ส่งคนที่ดีที่สุดไปสู่ตำแหน่งงานที่มีโอกาสที่ดีที่สุด ไม่ใช่ส่งไปแก้ปัญหาที่ยากที่สุด

    2. Disciplined Thought

    2.1 Confront Brutal Fact

      กล้าเผชิญกับความจริง อย่าเสียเวลา ไปกับการกระตุ้นผิดคน ถ้าคนมีคุณภาพ เพียงแค่สร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดีก็เพียงพอแล้ว แทนที่จะ ถามว่า “จะกระตุ้นคนอย่างไร” ให้ถามว่า “ฉันจะไม่กระตุ้นคนได้อย่างไร” แทน

    2.2 Hedgehog Concept





    1) บริษัททำอะไรได้ดีที่สุดในโลก
    ไม่ใช่แค่ทำได้ หรือทำได้ดี แต่ต้องดีที่สุด ไม่ใช่การตั้งเป้าหมาย แผนกลยุทธ์ แต่คือ “ความเข้าใจตัวบริษัทเอง”
    2) ปัจจัยอะไรที่ใช้เป็นตัววัดประสิทธิภาพ
    เช่น profit per employee, per visitor , per geographic region, per customer
    3) สิ่งที่ทำต้องเป็นสิ่งที่อยากทำจริงๆ ซึ่งเกิดจากแรงกระตุ้นภายใน
    นำแนวคิดทั้งสาม มาทำให้ง่าย เป็นแผนที่จับต้องได้ เรียกว่า “One Big Thing”

    3. Discipline Action

    3.1 Culture of Discipline

    สร้างวัฒนธรรมการทำงานบนแนวคิด Hedgehog Concept ให้อิสระการทำงานบนกรอบการทำงานที่เคร่งครัด คล้าย นักบิน ที่ต้องปฎิบัติตามกฎมากมาย แต่เมื่อถึงเวลาฉุกเฉินก็สามารถตัดสินใจได้อิสระ ต้องเป็นวัฒนธรรมที่แผ่ไปทั่วทั้งองค์กร ไม่อาศัยความสามารถของผู้บริหารคนใดคนหนึ่ง

    3.2 Technology Accelerators

    เทคโนโลยี ไม่ใช่สาเหตุโดยตรงที่ทำให้บริษัทเปลี่ยนสถานะ จาก Good to Great เป็นเพียง “ตัวเร่ง” หนึ่งเท่านั้น
    เทคโนโลยี ต้องเหมาะและเข้ากับ Hedgehog Concept
    ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้นำหรือคนคิดค้นได้เป็นคนแรก สำคัญอยู่ที่ต้องเข้ากับ Hedgehog Concept
    Flywheel
    Good to Great ไม่ได้มีสิ่งประดิษฐ์ เทคนิคพิเศษ อย่างใดอย่างหนึ่งที่ทำให้ บริษัทยอดเยี่ยม แต่เกิดจากการทำงานเป็นขั้นตอนที่ถูกต้อง ทีละขั้น ทีละงาน ทีละการตัดสินใจ ไม่ได้เกิดจากความสำเร็จชั่วข้ามคืน แต่ต้องอาศัยสะสมนานแรมปี

วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

หลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ ปรมาจารย์ แห่งการเจริญสติ



วิธีปฎิบัติคือ ให้เจริญสติให้มีคามรู้สึกตัวในทุกอิริยาบถไม่ว่าจะเป็นการยืน การเดิน การนั่ง การนอน และในอิริยาบถย่อย คือคู้ เหยียด เคลื่อนไหวและต้องเห็นจิตใจเมื่อมันนึกมันคิดด้วย นี่เป็นหัวใจของการปฎิบัติ ถ้ามีความรู้สึกตัว โมหะ ก็จะหายไป เราควรเคลื่อนไหวอยู่เสมอเพื่อให้มีความรู้สึกตัว เช่นพลิกมือ ยกมือขึ้นและลง เดินจงกรม กะพริบตา อ้าปาก กลืนน้ำลายและอื่นๆ เราต้องรู้สึกตัวในการเคลื่อนไหวทั้งหมด ความรู้สึกตัวนี้คือสติ ส่วนความไม่รู้สึกตัวคือโมหะ

เมื่อมีสติ จะมีสมาธิ มีปัญญา จะเห็น รู้ เข้าใจเรื่องชีวิตจิตใจของตนเอง การรู้ธรรมะไม่ใช่การเห็นเทวดา นรก หรือสวรรค์ แต่เป็นการรู้ เห็นตัวเองขณะที่พลิกมือ ยกมือขึ้นลง เดินจงกรม กะพริบตา อ้าปาก กลืนน้ำลายและอื่นๆ เมื่อมันคิด สติที่ว่องไวจะเห็นความคิด และความคิดจะหยุดลงทันที

เมื่อมีความรู้สึกตัว มีสติ โทสะ โมหะ โลภะ จะไม่มี ถ้ามีโมหะ โทสะ และ/หรือโลภะก็จะตามมา ความจริงโทสะ โมหะ โลภะไม่ได้มี ถ้าเราไม่หลงจิตหลงใจ หลงอารมณ์ โทสะ โลภะก็จะไม่มี

นอกจากมีความรู้สึกตัวในการเคลื่อนไหวของกายแล้ว ยังต้องรู้จักใจเห็นใจที่มันนึกมันคิดด้วย จึงจะเรียกว่ารู้สึกตัวทั่วพร้อมทั้งกาย-ใจ ถ้าเรามีสติอยู่เสมอ เราจะสามารถเห็นความคิดได้ แต่ถ้าไม่มีสติเราจะไม่เห็นมัน จะเข้าไปในความคิด และจะเป็นส่วนหนึ่งของความคิดนั้น

เราต้องเจริญสติให้มากๆ ให้มันต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ ให้มีสติที่ว่องไว จึงจะรู้เท่าทันความคิด ไม่ใช่ความคิดหรืออารมณ์เกิดขึ้นเสียก่อน แล้วสติจึงจะมีอย่างนั้นไม่ทันการณ์ ต้องฝึกจนกระทั้งสติมันไวเท่าความคิดหรือนำหน้าความคิด การเจริญสติจะไม่มีการห้ามหรือข่มไม่ให้มันคิด ถ้ามันจะคิดก็ปล่อยให้มันคิด ให้มันเป็นไปตามธรรมชาติของมัน แต่เราต้องมีสติที่ว่องไว เมื่อคิดปุ๊บ เห็นปั๊บและให้เห็นมันทุกครั้งที่มันคิด ความคิดปรุงแต่งนี้จะน้อยลงและสั้นลง โลภะ โทสะ โมหะ แสดงตัวออกมาในรูปของความคิดทั้งสิ้น