วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555

มั่งคั่งอย่างวอเร็น บัฟเฟตต์



1. จงเรียนรู้จากคนที่เก่งที่สุดในเรื่องนั้นๆ บัฟเฟตต์สามารถทำผลตอบแทนได้ 10 เท่าทุกๆ 10 ปี หรือคิดเป็น 25.89% ต่อปี
2. บัฟเฟตต์สนใจเรื่องการสร้างความมั่งคั่งตั้งแต่ 6 ขวบ หาเงิน ทั้งการขายของ ส่งหนังสือพิมพ์ ให้เช่าเครื่องเล่นพินบอล อ่านหนังสือเกี่ยวกับธุรกิจ
3. ตัดสินใจว่าจะเป็นนักลงทุนแบบไหน active หรือ passive นักลงทุน(คิดแบบเจ้าของธุรกิจ)หรือ นักค้ากำไร
4. กิจกรรม 3 อย่าง ที่นักลงทุนแบบ active ต้องทำทุกวัน คือ 1. การอ่าน 2. การวิจัย 3. การคิด
5. เข้าใจ สิ่งที่จะเป็นเจ้าของ
6. ในแต่ละช่วงเวลา จะศึกษาทีละอุตสาหกรรม ดูบริษัทราวครึ่งโหล  คิดว่าได้มรดกมาแล้วจะจัดการอย่างไร วิเคราะห์ธุรกิจ คู่แข่ง โอกาส อุปสรรค
7. มันจะดีกว่ามากหากจะซื้อบริษัทที่โดดเด่นในราคาที่เหมาะสมแทนที่จะซื้อบริษัทที่พอเหมาะในราคาที่โดดเด่น
8. เวลาเป็นมิตรกับธุรกิจที่ดี และเป็นศัตรูกับธุรกิจกลางๆ
9. การลงทุนในธุรกิจตะวันตกดิน แม้ผู้บริหารเก่งและดีอาจให้ผลตอบแทนที่ไม่ดี เหมือนจ๊อกกี้ที่เก่งแต่ขี่ม้าขาหัก
10. การลงทุนในธุรกิจที่ดี แต่ผู้บริหารไม่ซื่อสัตย์ ซักวันอาจเกิดปัญหา

วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

The Little Book of Valuation



การประเมินมูลค่ามี2วิธี
1. Intrinsic คือ คำนวณกระแสเงินสดในอนาคตทั้งหมดที่คาดว่าจะได้รับ
2. Relative คือ เปรียบเทียบความถูกแพงกับสินทรัพย์ที่มีลักษณะคล้ายกัน
สำหรับการลงทุนที่ดี การประเมินมูลค่าทั้ง 2 วิธี ต้องให้มูลค่าที่สูงกว่าราคาที่จ่าย

ลักษณะของการประเมินมูลค่า
1. มักลำเอียงเพราะสนใจจึงประเมินหรือไม่ก็มีหุ้นอยู่แล้วให้ทำใจเป็นกลางก่อนที่จะหามูลค่าดูที่ข้อเท็จจริงมากกว่าความคิดเห็น
2. การหามูลค่าส่วนมากผิดเพราะอนาคตเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน
3. ง่ายกว่าย่อมดีกว่าประเมินมูลค่าของทรัพย์สินด้วยวิธีที่ง่ายที่สุดที่เป็นไปได้

ปััจจัยการประเมิน
1.เวลาเป็นของมีค่า
2.ความเสี่ยง

ทรัพย์สินทุกชนิดมี "มูลค่าที่แท้จริง"
Fcf model เป็นการคิด เงินสดทั้งหมดที่บริษัทสร้างได้ตลอดอายุ ซึ่งตัวเลขก้อนใหญ่ คือ terminal value คิดต่างกันเล็กน้อย มูลค่าต่างกันมาก ยากแก่การประเมิน
อาจผิดที่ growth rate หรือ risk premium

ชนิด pe
1. current pe คิดปีล่าสุด
2. trailing pe คิด 4q ล่าสุด
3. forward pe คิด 4q ข้างหน้า
เมื่อบอกว่า หุ้นมี pe เฉลี่ย 29 อาจมี มัธยฐาน 15 เพราะกระจายเบ้ขวา ทำให้ หุ้นที่มี pe 18 อาจไม่ถูกก็ได้

ความผิดพลาดของราคากับมูลค่า
1. pe ต่ำ อัตราการเติบโตสูง
2. pbv ต่ำ roe สูง
3. p/s ต่ำ npm สูง

fcf method มีสมมติฐานว่าตลาดไม่มีประสิทธิภาพ
relative method มีสมมติฐานว่าโดยเฉลี่ยมีประสิทธิภาพ แต่หุ้นบางตัวยังไม่สะท้อน

การประเมินบริษัทที่ตั้งใหม่
อาจมีรายได้ไม่มาก และยังขาดทุนอยู่ ทำให้การประเมินยาก key driver สำคัญ 3ตัว คือ การเติบโตของรายได้ กับ npm ในอนาคต และปรับลดด้วยอัตราการอยู่รอด

การประเมินบริษัทที่กำลังเติบโต
ปััจจัยที่ต้องดู
  1. growth วัดค่าได้
  2. margin ยั่งยืน
  3. โตอย่างมีคุณภาพ อัตราการทำกำไรสูงกว่าต้นทุนทางการเงิน
การประเมินบริษัทที่อิ่มตัวแล้ว
1.เงินกู้ และเงินสดส่วนเกิน มีผลให้ประสิทธิภาพทางการเงินไม่เท่ากัน
2. ฝ่ายจัดการ มีผลต่อบริษัทมาก ถ้าบริษัทมีการจัดการที่ยอดเยี่ยมอยู่แล้ว การเติบโตคงไม่โดดเด่น แต่ถ้าฝ่ายจัดการเคยแย่ แล้วสามารถปรับปรุงได้ จะทำให้บริษัทกลับมาเติบโตได้มาก
ให้น้ำหนักกับการเปลี่ยนแปลงฝ่ายจัดการอย่างมาก
มองหาบริษัทที่มีการจัดการที่แย่ npm,roc ต่ำกว่าบริษัทอื่นในsectorเดียวกัน และมีแนวโน้มที่กำลังจะเปลี่ยนฝ่ายจัดการ

การประเมินบริษัทที่กำลังร่วงโรย
มูลค่าแฝงเกิดขึ้น เมื่อ
1. เกิดจากการบริหารืี่ผิดพลาด แต่สินทรัพย์ในบริษัทยังพอขายได้
2. เล่นแบบ turn around คือสามารถปรับปรุงการบริหารให้กลับมาทำกำไรอีกครั้ง

การประเมินมูลค่าในสถานการณ์พิเศษ
ธุรกิจธนาคาร มี 4  ส่วน
1. ธนาคาร กำไรจากผลต่างดอกเบี้ยเงินกู้กับดอกเบี้ยเงินฝาก
2. ประกัน กำไร คิอ รายได้ประกันบวกผลตอบแทนเงินลงทุนลบการเครม
3. investment bank ค่าคำปรึกษาการระดมทุน  และค่าธรรมเนียมการควบรวมกิจการ
4. investment firms ค่าธรรมเนียมการลงทุนจากลูกค้า
| Style : Background12, Font0, Size16 

วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

60 กลยุทธ์สร้างเด็กอัจฉริยะ ฉบับ คุณพ่อมือโปร



1. มีเวลาอยู่ด้วยกัน เล่นกัน คุยกัน รดน้ำเมล็ดพันธ์ุด้านบวก ใช้ปัญญาคัดสรรคำพูดแนะนำให้กำลังใจ
2. สร้างสิ่งแวดล้อมรอบตัวให้เกิดการเรียนรู้ เช่น การวางหนังสือไว้ที่ต่างๆ ของบ้าน แผนที่ ลูกโลก สามารถหาได้ง่ายเพื่อค้นคว้าหาความรู้
ฯลฯ

วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

โลกกระจ่าง ธรรมกระจาย


สติมีกำลังมากก็ตามดูจิตสติมีกำลังน้อยดูจิตไม่ทันให้ใช้สมถะข่มไว้ก่อน
ปฏิบัติสายหลวงปู่ขาว
เดินจงกรม1ชม.ยืน15นาทีนั่งสมาธิ1ชม.
เคล็ดลับคือเดินก่อนเพื่อกำจัดนิวรณ์ยืนให้ปรับสภาพแล้วค่อยนั่ง
ถ้าอยากมีความสุขต้องจับความคิดตัวเองให้ทันจับเสียงภายในใจให้ทัน
ปัญญา3ฐาน
1.ฐานคิดThinkingหัวสมอง
2.ฐานใจFeelingรับรู้อารมณ์
3.ฐานกายSensingร่างกายรู้สิ่งที่ปรากฎบนร่างกาย
การหลุดพ้นอยู่ที่ฐานใจโปร่งโล่งสงบไม่บวกไม่ลบไม่ตัดสิน
ต้องแยกบ้านคิดกับบ้านใจให้ออกโดยอาศัยบ้านกายอยู่กับกายทำใจให้สบายมีความสุขถ้าปฏิบัติธรรมแล้วทุกข์แปลว่ามาผิดทางการปฏิบัติธรรมไม่มีชอบหรือไม่ชอบมีแต่โล่งสบาย
เห็นความคิดจรก็จะไม่ทุกข์ดีดทิ้งไปก่อนสิ้นคิดรู้ด้วยฝ่าเท้ารู้ด้วยกายรู้ทุกอิริยาบท
Learnhowtolearn
1.การเรียนพุทธศาสนาไม่ใช่แค่ท่องจำแต่ต้องฝึกเหมือนทักษะทางกีฬาดนตรี
2.ต้องเรียนที่ใจไม่ใช่คิดอายตนะต่างกันอธืบายข้ามกันไม่ได้ตาอธิบายให้หูเข้าใจไม่ได้
3.ไม่เร่งรีบไม่มีสูตรสำเร็จในช่วงแรกเวลา80%จะล้มเหลวต้องอดทนแต่ละคนมีจริตไม่เหมือนกันต้องฝึกต่างกัน
เมื่อเราทำงาน เราตั้งใจคิด เป็นความคิดปัจจุบัน จู่ๆก็มีความคิดจร แทรกเข้ามา รวมตัวกับจิต เกิดทุกข์ เราต้องฝึกแยกจิตกับความคิดออกจากกัน
เริ่มสะสมสติจากน้อยๆ เรียกว่ามินิสติ จนมากขึ้นได้แมคโครสติ เมื่อมีมหาสติ ต่อไปจะได้สติอัตโนมัติ เรียกว่าออโตสติ

รู้กาย ใจโล่ง คิดดี ทำดี


| Style : Background11, Font0, Size16 |

วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ความรุ่งเรืองของเงินตรา

ความรุ่งเรืองของเงินตรา


1. ปัญหาทางการเงินอย่างหนึ่ง คือ มีสถาบันการเงินน้อยเกินไป ทำให้มีการกู้ยืมนอกระบบด้วยอัตราดอกเบี้ยสูงมาก สถาบันที่ฉ้อฉล การมีสถาบันการเงินที่ดี รับฝากเงินจากผู้มีเงิน ปล่อยให้ผู้ต้องการด้วยอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม
2. ในปัจจุบัน 'ผู้ลงทุน' หรือผู้รู้เรื่องเงิน ทำเงินได้สูงกว่า 'แรงงานไร้ฝีมือหรือฝีมือปานกลาง' อย่างมหาศาล แบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ระบบให้รางวัลกับผู้ที่ "เข้าใจเรื่องเงิน" มากเกินไป
3. วิกฤตเศรษฐกิจ ยากที่จะทำนายได้ว่าจะเกิดเมื่อไร รุนแรงแค่ไหน เพราะความซับซ้อนของระบบการเงินปัจจุบัน

ดอกเบี้ย: ขอยืมวัวไปใช้ เมื่อเวลาผ่านไปวัวมีลูก นั่นคือส่วนของดอกเบี้ย
ดอกเบี้ย : มีไว้ชดเชยความเสี่ยงที่จะถูกเบี้ยวหนี้

วิวัฒนาการของธนาคาร เกิดจากการเป็นตัวแทนแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงิน ระหว่างพ่อค้า ต่อมาจึงเริ่มรับฝากเงิน ปล่อยกู้(เก็บเงินฝากเพียงบางส่วน) ส่งผล
ให้การขยายตัวของเงินกู้สูงมาก
ในยุโรปพัฒนาจากธนาคารกลางทำให้มีจำนวนธนาคารน้อย
ในอเมริกา กลัวว่านักการเงินจะมีอิทธิพล จึงออกกฎหมายให้ทำธนาคารข้ามรัฐได้ยาก จึงเกิดธนาคารขนาดเล็กจำนวนมาก (ปีค.ศ.1899 มีกว่า 30,000 แห่ง) มีการกำหนดเงินสำรองต่ำ เกิดการล้มละลาย ปี 1993 เกิด ปัญหา sup-prime เหลือ 3,600 แห่ง

ในปัจจุบัน เงินในความหมายอย่างกว้างเพิ่มขึ้นมาก อัตราส่วนทุนสำรองของธนาคารลดลง (นับเงินฝากมากขึ้น ปล่อยกู้มากขึ้น เสี่ยงมากขึ้น 

ในอดีตรัฐกู้เงินจากเอกชนผ่านการขายพันธบัตร ยิ่งในช่วงสงคราม ต้องใช้เงินเยอะมาก บางประเทศกู้เกินกำลังใช้คืน การแก้ปัญหาในอดีตคือเบี้ยวหนี้ หรืออาจเกิดสงคราม ผู้ชนะจัดตั้งรัฐบาลใหม่และปฏิเสธการจ่ายหนี้ของผู้บริหารชุดเก่า 
การกู้จากในประเทศมีผลทางสังคมมากกว่ากู้จากต่างประเทศ ทำให้การเบี้ยวหนี้ต่างประเทศง่ายกว่า

การทำการค้าทางทะเล ต้องใช้เงินสูงและความเสี่ยงสูง จึงมีการจัดตั้งบริษัทมหาชนขึ้น ใน 10 ปีแรกบริษัทไม่มีกำไรและไม่ปันผล อักทั้งไม่ซื้อหุ้นคืน จึงเกิดตลาดรองซื้อขายแลกเปลี่ยนหุ้นขึ้นที่กรุงอัมสเตอร์ดัม เมื่อ 400 ปีก่อน หุ้นที่ซื้อขายยังสามารถนำมาประกันเงินกู้ได้ด้วย จึงเกิดเสาหลัก 3 อย่าง คือ บริษัทจำกัด ตลาดหุ้น ธนาคาร
จากประวัติศาสตร์ วิกฤติการณ์ทางการเงิน มักมีการผ่อนคลายทางการเงินจากทางการเกี่ยวข้องเสมอ

| Style : Background13, Font0, Size16 |

วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

พฤติกรรม พยากรณ์





เมื่อมีตัวเลือกเปรียบเทียบ ได้แก่ A ,B คนอาจเลือกไม่ได้ ถ้าใส่ตัวล่อ(-A) มีผลให้เกิดการเปรียบเทียบ ทำให้คนมีแนวโน้มเลือก A มากขึ้น

เศรษฐศาสตร์คลาสสิค บอกว่า ราคาเป็นไปตามอุปสงค์ อุปทาน ซึ่งอาจจริงกับสินค้าที่สามารถเปรียบเทียบได้ คล้ายกัน สำหรับสินค้าที่ไม่สามารถมีตัวเปรียบเทียบ การตั้งราคามีผลต่อการตัดสินใจซื้อ โดยราคาแรกที่เห็นจะถูกฝังในความคิด เกิดป็นราคาเปรียบเทียบ 

การตั้งราคา "ไข่มุกดำ" ไว้ที่ราคาสูง สร้างเรื่องราวการหายาก ทำให้ของที่ไม่มีราคากลายเป็นของมีราคาได้

การตั้งราคาอย่างสุ่มเป็นราคาเริ่มต้น กลับกลายเป็นราคาที่คนจำได้และเก็บไว้เปรียบเทียบ แม้ว่าราคานั้นไม่สมเหตุสมผลก็ตาม
คนที่เห็นราคาเริ่มต้นสูงกว่ายอมจ่ายแพงกว่า สำหรับของสิ่งเดียวกัน

จูงใจโดยการสร้าง วิธีคิดใหม่ จาก "งาน" เป็น "เรื่องสนุก" ได้งานโดยไม่ต้องจ้าง

จากแนวคิดเรื่องอุปสงค์อุปทาน เมื่อสินค้าราคาเพิ่มขึ้น ความต้องการลดลง เมื่ออธิบายในแง่การผูกติดราคา สมมติว่า คน "จำราคาเดิมไม่ได้" แน่นอนว่าคงไม่มีผลต่อปริมาณการใช้จ่าย ที่คนใช้จ่ายน้อยลงเพราะ เปรียบเทียบกับราคาเดิม เมื่อคนใช้จ่ายบ่อยขึ้นก็จะผูกติดกับราคาใหม่ การบริโภคจะกลับมาที่เดิม

ถ้าจะลดราคาสินค้าให้เหลือน้อยๆ สู้แจกฟรีไปเลยดีกว่า เพราะ มีผลต่อจิตใจและการเลือกของคนมากกว่า

การผสานกันของสองกลยุทธ์
1.ตั้งราคาเริ่มต้นให้สูงเข้าไว้
2. แล้วเปลี่ยนเป็นแจกฟรี

เรากำลังอยู่บนโลก 2 ใบที่ต่างกัน 
1. โลกที่มีบรรทัดฐานทางสังคม เป็นการช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน ไม่ได้มองที่ตัวเงิน เน้นความสัมพันธ์ ความภูมิใจ
2. โลกที่มีบรรทัดฐานทางตลาด เป็นการแลกเปลี่ยนด้วยผลตอบแทนชัดแจ้ง

การทดลอง ให้คนทำงานหนึ่ง โดยบอกผลตอบแทนที่จะได้รับ
1. ให้เงินจำนวนน้อย.   งานที่ได้น้อย
2. ให้เงินจำนวนมาก งานที่ได้มาก
3.ขอความช่วยเหลือ ไม่บอกเรื่องเงิน งานที่ได้มาก
4. ให้ของขวัญเล็กน้อย และของขวัญมูลค่ามาก งานที่ได้มาก
5. ให้ของขวัญโดยบอกมูลค่าของขวัญด้วย ได้ผลลัพธ์เหมือนให้เงิน

ในภาวะอารมณ์ที่พลุ่งพล่าน โกรธ หิว อารมณ์ทางเพศ หัวเสีย รำคาญใจ ฯลฯ ทำให้การตัดสินใจผิดจากภาวะปกติมาก แทบจะหน้ามือเป็นหลังมือ

วิธีแก้ไขอย่างหนึ่งคือ "รอก่อน" อย่าเพิ่งทำอะไร รอให้เวลาผ่านไปซักวันสองวันก่อน

ปัญหาการผัดวันประกันพรุ่ง
ทำการทดลอง 3 กลุ่ม
1. กำหนดเส้นตายส่งงานชัดเจน ให้ผลดีสุด
2. ไม่กำหนดเส้นตายเลย ให้ผลแย่สุด
3. ให้กำหนดเส้นตายเอง อาจเลือกส่งเร็วหรือช้าก็ได้ ถ้าเลือกส่งเร็ว แล้วไม่ทันกำหนดจะถูกหักคะแนน ให้ผลเป็นกลาง
สรุป นิสัยประจำตัวของคน คือ ผัดวันประกันพรุ่ง การสร้างเส้นตายทำให้งานมีประสิทธิภาพขึ้นได้

การทดลองหนึ่ง ทำให้ทราบว่า เมื่อเราเป็นเจ้าของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีแนวโน้มที่เราจะตีค่าสิ่งเหล่านั้นสูงกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็นเจ้าของ และไม่อยากสูญเสียสิ่งนั้นไป เช่น เมื่อเป็นเจ้าของรถ เจ้าของรถจะตีค่ารถคันนั้นสูงกว่าผู้ซื้อ เหตุผลหนึ่งที่อธิบายได้ คือ เจ้าของ เห็น "ความทรงจำดีดีเกี่ยวกับรถคันนั้น" ผู้ซื้อเห็น "ข้อเสียเช่นควันดำ"

การเลือกระหว่าง 2 สิ่งที่คล้ายกันมากหรือให้ผลลัพธ์ที่แทบจะไม่ต่างกัน นอกจากค่าเสียโอกาสแล้วยังมีค่าเสียเวลาที่ใช้เลือกด้วย บางทีเราอาจจะใช้เวลา พลังงานและทรัพยากรอื่นๆมากเกินกว่าค่าเสียโอกาสด้วยซ้ำ

คนจะเห็นตามที่คาดหวัง บอกก่อนว่าส่วนผสมดี อร่อย จูงใจให้คิดไปก่อนว่าอร่อยแล้วจะได้ผล

เรื่องของความซื่อสัตย์
คนเราพร้อมจะโกงเล็กๆน้อยๆเสมอ ยิ่งถ้าสิ่งนั้นห่างจากเงินก้าวหนึ่ง เช่น ปากกาที่ทำงาน ใบเสร็จค่าอาหารเลี้ยงเพื่อนแต่ไปเบิกบริษัท ไม่ว่าโอกาสที่จะถูกจับได้จะมากหรือน้อยเพียงใด การท่องบัญญัติ 10 ประการหรือสิ่งเตือนใจบางอย่างช่วยระงับการตัดสินใจโกงได้ 
การโกงเงินสดจะทำให้ผู้คิดที่จะโกงรู้สึกผิด ต่างจากโกงสิ่งของ
การโกงจำนวนมากๆก็เช่นกัน แต่ถ้าน้อยๆจะรู้สึกว่าไม่เป็นไร

วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

Good to Great


Good to Great


Good is the enemy of great.



  1. Disciplined People

    1.1 Level 5 Leadership

    ลักษณะ ถ่อมตน สมถะ เอาจริงเอาจัง ทะเยอทยาน ให้ความสำคัญกับบริษํทมากกว่าตัวเอง คัดเลือกผู้บริหารรุ่นต่อไป ผลักดันให้องค์การสำเร็จมากกว่ารุ่นตนเอง จากข้อมูล 10 ใน 11 บริษัทมาจากคนใน ไม่ใช่คนนอก



ให้เครดิตความสำเร็จกับคนอื่นๆ หรือเหตุการณ์บางอย่างนอกจากตนเอง ถ้าไม่มีก็ให้เครดิตกับโชค ถ้าผลลัพธ์ไม่ดี ไม่เคยโทษโชค แต่จะโทษตัวเอง
    1. First Who …. Then What

      องค์กรจะยิ่งใหญ่ เริ่มต้นจากผู้บริหารเลือกคนอย่างถูกต้องก่อน แล้วจึงกำหนดทิศทางขององค์กร ไม่ได้เร่ิมจากกำหนดทิศทางแล้วค่อยหาคน คนที่มีคุณภาพจะช่วยกันกำหนดทิศทางที่ถูกต้องขององค์กรเอง ถ้าเลือกคนผิด แม้มีทิศทางก็ไม่สามารถขับเคลื่อนองค์กรไปได้
      จุดสำคัญ คือ หาคนเป็นอันดับแรก ก่อนวิสัยทัศน์ ก่อนแผนกลยุทธ์ ก่อนการจัดตั้งโครงสร้างองค์กร ก่อนหาเทคโนโลยี หาคนที่ใช่ กระตุ้นพวกเขา ถามคำถามที่ถูกต้อง
      ไม่มีความสัมพันธ์ ระหว่างค่าตอบแทน ไม่ว่าจะเป็น การให้หุ้น เงินเดือนสูงๆ โบนัสมากๆ กับการจ้างคนที่มีคุณภาพ
      ตัวอย่าง Nucor จ้างคน 5 คนทำงานเท่าคน 10 คน จ่ายค่าตอบแทนเท่ากัน 8 คน
      Good to Great Company มีคน 2 ประเภท คือ อยู่กับบริษัทอย่างยาวนาน กับ ออกจากบริษัททันที
      ส่งคนที่ดีที่สุดไปสู่ตำแหน่งงานที่มีโอกาสที่ดีที่สุด ไม่ใช่ส่งไปแก้ปัญหาที่ยากที่สุด

    2. Disciplined Thought

    2.1 Confront Brutal Fact

      กล้าเผชิญกับความจริง อย่าเสียเวลา ไปกับการกระตุ้นผิดคน ถ้าคนมีคุณภาพ เพียงแค่สร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดีก็เพียงพอแล้ว แทนที่จะ ถามว่า “จะกระตุ้นคนอย่างไร” ให้ถามว่า “ฉันจะไม่กระตุ้นคนได้อย่างไร” แทน

    2.2 Hedgehog Concept





    1) บริษัททำอะไรได้ดีที่สุดในโลก
    ไม่ใช่แค่ทำได้ หรือทำได้ดี แต่ต้องดีที่สุด ไม่ใช่การตั้งเป้าหมาย แผนกลยุทธ์ แต่คือ “ความเข้าใจตัวบริษัทเอง”
    2) ปัจจัยอะไรที่ใช้เป็นตัววัดประสิทธิภาพ
    เช่น profit per employee, per visitor , per geographic region, per customer
    3) สิ่งที่ทำต้องเป็นสิ่งที่อยากทำจริงๆ ซึ่งเกิดจากแรงกระตุ้นภายใน
    นำแนวคิดทั้งสาม มาทำให้ง่าย เป็นแผนที่จับต้องได้ เรียกว่า “One Big Thing”

    3. Discipline Action

    3.1 Culture of Discipline

    สร้างวัฒนธรรมการทำงานบนแนวคิด Hedgehog Concept ให้อิสระการทำงานบนกรอบการทำงานที่เคร่งครัด คล้าย นักบิน ที่ต้องปฎิบัติตามกฎมากมาย แต่เมื่อถึงเวลาฉุกเฉินก็สามารถตัดสินใจได้อิสระ ต้องเป็นวัฒนธรรมที่แผ่ไปทั่วทั้งองค์กร ไม่อาศัยความสามารถของผู้บริหารคนใดคนหนึ่ง

    3.2 Technology Accelerators

    เทคโนโลยี ไม่ใช่สาเหตุโดยตรงที่ทำให้บริษัทเปลี่ยนสถานะ จาก Good to Great เป็นเพียง “ตัวเร่ง” หนึ่งเท่านั้น
    เทคโนโลยี ต้องเหมาะและเข้ากับ Hedgehog Concept
    ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้นำหรือคนคิดค้นได้เป็นคนแรก สำคัญอยู่ที่ต้องเข้ากับ Hedgehog Concept
    Flywheel
    Good to Great ไม่ได้มีสิ่งประดิษฐ์ เทคนิคพิเศษ อย่างใดอย่างหนึ่งที่ทำให้ บริษัทยอดเยี่ยม แต่เกิดจากการทำงานเป็นขั้นตอนที่ถูกต้อง ทีละขั้น ทีละงาน ทีละการตัดสินใจ ไม่ได้เกิดจากความสำเร็จชั่วข้ามคืน แต่ต้องอาศัยสะสมนานแรมปี

วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

หลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ ปรมาจารย์ แห่งการเจริญสติ



วิธีปฎิบัติคือ ให้เจริญสติให้มีคามรู้สึกตัวในทุกอิริยาบถไม่ว่าจะเป็นการยืน การเดิน การนั่ง การนอน และในอิริยาบถย่อย คือคู้ เหยียด เคลื่อนไหวและต้องเห็นจิตใจเมื่อมันนึกมันคิดด้วย นี่เป็นหัวใจของการปฎิบัติ ถ้ามีความรู้สึกตัว โมหะ ก็จะหายไป เราควรเคลื่อนไหวอยู่เสมอเพื่อให้มีความรู้สึกตัว เช่นพลิกมือ ยกมือขึ้นและลง เดินจงกรม กะพริบตา อ้าปาก กลืนน้ำลายและอื่นๆ เราต้องรู้สึกตัวในการเคลื่อนไหวทั้งหมด ความรู้สึกตัวนี้คือสติ ส่วนความไม่รู้สึกตัวคือโมหะ

เมื่อมีสติ จะมีสมาธิ มีปัญญา จะเห็น รู้ เข้าใจเรื่องชีวิตจิตใจของตนเอง การรู้ธรรมะไม่ใช่การเห็นเทวดา นรก หรือสวรรค์ แต่เป็นการรู้ เห็นตัวเองขณะที่พลิกมือ ยกมือขึ้นลง เดินจงกรม กะพริบตา อ้าปาก กลืนน้ำลายและอื่นๆ เมื่อมันคิด สติที่ว่องไวจะเห็นความคิด และความคิดจะหยุดลงทันที

เมื่อมีความรู้สึกตัว มีสติ โทสะ โมหะ โลภะ จะไม่มี ถ้ามีโมหะ โทสะ และ/หรือโลภะก็จะตามมา ความจริงโทสะ โมหะ โลภะไม่ได้มี ถ้าเราไม่หลงจิตหลงใจ หลงอารมณ์ โทสะ โลภะก็จะไม่มี

นอกจากมีความรู้สึกตัวในการเคลื่อนไหวของกายแล้ว ยังต้องรู้จักใจเห็นใจที่มันนึกมันคิดด้วย จึงจะเรียกว่ารู้สึกตัวทั่วพร้อมทั้งกาย-ใจ ถ้าเรามีสติอยู่เสมอ เราจะสามารถเห็นความคิดได้ แต่ถ้าไม่มีสติเราจะไม่เห็นมัน จะเข้าไปในความคิด และจะเป็นส่วนหนึ่งของความคิดนั้น

เราต้องเจริญสติให้มากๆ ให้มันต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ ให้มีสติที่ว่องไว จึงจะรู้เท่าทันความคิด ไม่ใช่ความคิดหรืออารมณ์เกิดขึ้นเสียก่อน แล้วสติจึงจะมีอย่างนั้นไม่ทันการณ์ ต้องฝึกจนกระทั้งสติมันไวเท่าความคิดหรือนำหน้าความคิด การเจริญสติจะไม่มีการห้ามหรือข่มไม่ให้มันคิด ถ้ามันจะคิดก็ปล่อยให้มันคิด ให้มันเป็นไปตามธรรมชาติของมัน แต่เราต้องมีสติที่ว่องไว เมื่อคิดปุ๊บ เห็นปั๊บและให้เห็นมันทุกครั้งที่มันคิด ความคิดปรุงแต่งนี้จะน้อยลงและสั้นลง โลภะ โทสะ โมหะ แสดงตัวออกมาในรูปของความคิดทั้งสิ้น 

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แผนที่ชีวิต


  1. ชีวิตคืออะไร
เมื่อแยกส่วนย่อยๆของชีวิตออกแล้ว ประกอบไปด้วย 5 ส่วน เรียกว่า ขันธ์ห้า ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อแยกต่อไปจะพบว่าไม่ใช่ตัวตน เป็นเพียงสมมติบัญญัติ 
เมื่อโกรธ ถามตัวเองว่าโกรธอะไร โกรธขน โกรธหนัง อย่างนั้นหรือ 
ชีวิตรับรู้โลกได้ 6 ทาง เรียกว่า ทวาร6 หรือ อายตนะ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เมื่อเกิดผัสสะกับอายตนะเหล่านี้ จะเกิดสุขทุกข์ เรียกว่าเวทนา เกิดความพอใจไม่พอใจ อยากให้เกิดอีก เรียกว่า ตัณหา ตัณหาจึงเป็นตัวสั่งให้ชีวิตดำเนินไปด้วยความไม่รู้ เราต้องแทนที่ตัณหาด้วยฉันทะ และหยุดฉันทะด้วยการทำให้สำเร็จ

2. ชีวิต เป็นอย่างไร
เป็นไตรลักษณ์ ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ ไม่มีตัวตน
สันตติ บัง อนิจจลักษณะ ความสืบเนื่องบังความไม่เที่ยง ร่างกายเปลี่ยนแปลงเสื่อมสลายตลอดเวลา แต่ มองไม่เห็น
อิริยาบท บัง ทุกขลักษณะ อยู่ท่าเดิมนาน ๆ ก็เมื่อย ปวด เปลี่ยนท่าก็คลาย อิริยาบทจึงบังทุกข์
ฆนะ บัง อนัตตา ความเป็นแท่ง ช้ิน อัน สัญญาต่างๆ เห็นเสื้อไม่เห็นผ้า เห็นผ้าไม่เห็นด้าย ทุกสิ่งเกิดจากส่วนประกอบย่อยๆลงไปเรื่อยๆ ไม่มีตัวตนที่แท้จริง

  1. ชีวิตเป็นไปอย่างไร 
ไตรลักษณ์เป็นเพียงอาการ ที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย 
ไตรลักษณ์ บอกว่าเป็นอย่างไร ส่วนทำไมต้องเป็นอย่างนั้นให้ดูกฎ ปฏิจจสมุปบาท
"มองตามเหตุปัจจัย" และ "เป็นไปตามเหตุปัจจัย" ไม่นำความอยากให้มี ให้เป็น เป็นตัวตั้ง แต่ใช้หลักของเหตุปัจจัยเป็นตัวตั้ง จิตใจจึงปลอดโปร่ง มุ่งทำเหตุปัจจัยให้เหมาะให้ควร

  1. ชีวิต ควรให้เป็นอย่างไร
หลักในการสร้างชีวิตที่ดี และมีความสุขนี้ไม่มีอะไรมาก ก็คือ "การเข้าถึงธรรม" เจริญภาวนา เมื่อมีความสุขภายในแล้ว ความสุขภายนอกก็ไม่จำเป็น

  1. ชีวิตควรเป็นอยู่อย่างไร
ศีล   ศีล5 อยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างไร้ปัญหา
ศีล8 ขัดเกลาตนเอง สอนตนเองว่าไม่มีกามคุณก็สุขได้
สมาธิ   มาพร้อมสติ คือเชือกที่ผูกลิงหรือจิต ไว้กับหลักหรืออารมณ์ในอารมณ์หนึ่ง
ปัญญา เมื่อเกิดสมาธิแล้วนำมาสร้างปัญญารู้แจ้ง

สติดึงเอาจิตมากำกับไว้กับสิ่งที่ต้องการ หรือสิ่งที่เราควรจะเกี่ยวข้องทำให้สิ่งนั้นอยู่ในการรับรู้ของจิต ไม่หลุดลอย ไม่หล่นหาย ไม่พลัดกันไปเสีย นี้คือหน้าที่ของสติ
สติ ต่างจากสมาธิอย่างหร
สติ คือ การที่ทำให้จิต ดึง จับ ตรึงกับอารมณ์ อารมณ์หนึ่ง ไม่ให้พลัดพราก จากนั้น การที่จิตแนบแน่นกับอารมณ์หนึ่ง เรียกว่าสมาธิ สติเป็นตัวเร่ิมตัน เป็นตัวดึงให้กลับมา ทำงานหนักในตอนแรก เมื่อมีสมาธิแน่วแน่ขึ้น สมาธิจะเป็นตัวเด่น สติคอยอยู่ห่างๆ ทำงานไม่หนักเหมือนตอนแรก เมื่อประกอบไปด้วยสมาธิมากแล้ว จิตก็พร้อมที่จะทำงานด้วยปัญญา เพื่อความรู้แจ้ง
ไม่หยุดดื่มด่ำเพียงความสุขทางจิตเพียงเท่านั้น เพราะเป้าหมายสำคัญ คือปัญญาที่จะตัดกิเลศโดยสิ้นเชิง

วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เปิดห้องเรียน วิชาความสุข


ส่ิงที่มนุษย์ต้องการมากที่สุด คือ ความสุข แต่สิ่งที่มนุษย์เรียนน้อยที่สุดคือวิชาความสุข ฉะนั้น แม้โลกเจริญด้วยวิทยาการสุดๆ แต่ความสุขของมนุษย์โดยรวมกลับลดลง มีคนเป็นโรคหดหู่และฆ่าตัวตายมากขึ้น รวมทั้งในหมู่เยาวชน

สร้างกิจวัตรทีละอย่าง เช่น ออกกำลังสัปดาห์ละ 3  ครั้ง ทำสมาธิ 15 นาทีทุกเช้า ดูภาพยนตร์เดือนละ 2 เรื่อง อ่านหนังสือวันละ 1 ชั่วโมง ทำกิจวัตรให้เป็นนิสัยก่อนที่จะสร้างกิจวัตรใหม่ ประมาณ 30 วัน

"สิ่งที่เราทำซ้ำๆ บ่งบอกถึงตัวเรา ความเป็นเลิศจึงไม่ได้เกิดจากการกระทำ แต่เกิดจากนิสัยต่างหาก" อริสโตเติล

กิจกรรมก่อนเข้านอน "จงเขียนสิ่งที่ทำให้คุณมีความสุขอย่างน้อย 5 อย่างในแต่ละวัน"  ไม่ว่าเรื่องนั้นจะเล็กน้อยหรือเรื่องใหญ่

ความสุขในอนาคต
           
มาก หนูวิ่งแข่ง คนมีความสุข

น้อย คนหมดอาลัยตายอยาก เจ้าสำราญ

น้อย มาก ความสุขในปัจจุบัน

"ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ตีนเขา หรือยอดเขา เราถูกสร้างมาเพื่อให้ปีนป่าย ไม่ใช่ เพื่อให้ทำตัวสบายๆ" จอห์น การ์ดเนอร์

การทดลองสุนัข 3 กลุ่ม ไฟดูด ปิดเองได้
ไฟดูดแต่ทำอะไรไม่ได้
ไม่มีอะไร
เมื่อมีรั้วไฟฟ้า กลุ่ม 2  จะไม่พยายามแก้ปัญหา ไม่กระโดดข้าม มัวแต่ครางหงิงๆ

"ชีวิตนั้นสั้นเกินกว่าที่จะเร่งรีบได้" ทอโร
"คนคนหนึ่งไม่สามารถเลือกทางเดินให้กับชีวิตได้อย่างชาญฉลาด ถ้าเขาไม่กล้าฟังสิ่งที่ใจตัวเองเรียกร้องในแต่ละชั่วขณะของชีวิต" อับราฮัม มาสโลว์
"ทันทีที่คนคนหนึ่งได้ให้คำมั่นสัญญากับตัวเองอย่างแน่วแน่แล้ว เมื่อนั้นโชคชะตาจะเคลื่อนไปตามคำสัญญานั้น" วิลเลียม เอช เมอร์เลย์
"เรื่องที่เล็กน้อยที่สุด แต่มีความหมายนั้น มีค่าต่อชีวิตเรายิ่งกว่า เรื่องที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแต่ไร้ความหมาย" คาร์ล จุง
วิธีหนึ่งที่สามารถเพ่ิมความสุขได้ คือ ลด "สิ่งที่ต้องทำ" และเพ่ิม "สิ่งที่อยากทำ"
"อย่าถามตัวเองว่าโลกต้องการอะไร แต่ให้ถามตัวเองว่า อะไรที่ทำให้คุณมีชีวิตชีวา แล้วจงมุ่งทำสิ่งนั้น เพราะสิ่งที่โลกต้องการ ก็คือ ผู้คนที่มีชีวิตชีวานั่นเอง" ฮาโรลด์ วิตแมน

วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ธรรมะจาก หลวงพ่อคำเขียน สุวัณโณ



ความโกรธไม่ใช่จิตใจ ความทุกข์ไม่ใช่จิตใจ แต่มันเป็นเรื่องของอารมณ์ อย่าทำตามมัน ถ้าเวลาใดที่มีความโกรธก็ให้เรารู้ว่านี่ไม่ใช่จิต มันเป็นอาคันตุกะที่จรมาย้อมจิตใจของเรา ให้รู้จักแยกซะ

เราใช้ใจหรือว่าใจใช้เรา เราใช้ตาใช้หู หรือว่าตาหูใช้เรา เราใช้ความคิดหรือความคิดใช้เรา ถ้าตราบใดเรายังไม่รู้ เราก็ตกเป็นทาส อะไรเข้ามาก็เอาทั้งหมด เขาสั่งให้เรากินอะไรเราก็กินไป สั่งให้เราคิดอะไรก็คิดไป บางทีเขาบอกให้เราสุข บอกให้เราทุกข์ ความสุขความทุกข์เป็นนายของเรา เราก็เลยไม่อิสระ
การเจริญสติมันทำให้เกิดการพบทางขึ้นมาเห็นกายเห็นใจตามความเป็นจริง สิ่งใดที่เกิดขึ้นกับกายกับใจรู้หมด รู้ครบ รู้ถ้วน ไม่เอะใจ เราได้ความฉลาดเพราะกายใจสอนเรา

การปลูกข้าวต้องรอนานครึ่งปีจึงจะได้รับผล 
การเจริญสติ ปลูกสติ ไม่ต้องรอแม้แต่เสี้ยววินาที รู้ได้ทันที เป็นปัจจัตตัง รู้เอาเอง เห็นเอาเอง ไม่ต้องไปถามใคร ตอบเอาเองได้
การเจริญสตินี่แหละคือการสร้างบารมี เป็นที่เกิดขึ้นของความรู้ทั้งหลาย ความรู้สึกตัว เปรียบเสมือนรอยเท้าของช้าง ถ้าเอารอยเท้าของสัตว์อื่นก็มาลงที่รอยเท้าของช้างได้ ธรรมที่เป็นกุศลธรรมทั้งหลายเอามารวมลงที่ความรู้สึกตัว

กายมันเป็นดุ้น เป็นก้อน มันเคลื่อนไหว มันเป็นรูป เป็น "รูปธรรม" ส่วนตัวรู้สึกที่เคลื่อนไหวไปมานี้เป็น "นามธรรม" อ้อ มันย่อให้แล้ว มันมีของสองอย่าง ถ้าจะว่าไปแล้ว กายกับใจ นี่แหละเป็นของสองอย่าง ดูดีๆ ไปก็เห็นอย่างนั้น มันเป็นดุ้นเป็นก้อนที่เคลื่อนไหวไปมาอยู่ นี่มันเป็นก้อนก้อนหนึ่ง ตัวที่สั่งให้เคลื่อนไหวเป็นอันหนึ่งเป็นนาม ดูเข้าไปเห็นเป็นของสองอย่าง ตัวดู ตัวเห็น ตัวรู้ มันเข้าไปเห็นซะ เห็นจริงๆด้วย เห็นของจริง จริงๆก็พบทางมั่นใจ
อันรูปที่เป็นดุ้นเป็นก้อน ตั้งแต่เท้าจรดหัว ตั้งแต่หัวจรดเท้า เป็นดุ้นเป็นอันหนึ่ง มันไม่รู้อะไรหรอก ทำดีไม่เป็น ทำชั่วไม่เป็น ทำผิดไม่เป็น ทำถูกไม่เป็น เขาสั่งให้เคลื่อนให้ไหว เขาสั่งให้ลุกให้เดิน เขาสั่งให้นั่งให้นอน ก็ทำไปตามคำสั่งเขา แต่ก่อนเราก็นึกว่าเป็นอันเดียวกัน ที่แท้ไม่ใช่ ดูเข้าไปดีๆ มันย่อยออก มันแยกให้ดู มันคนละอันกัน
ถ้าเห็นมันก็พบทางไปเรื่อยๆ คล่องตัวเรื่อยๆไป เป็นอย่างนั้นนะ ให้เห็นเป็นของสองอย่าง เป็นรูปธรรม เป็นนามธรรม ทำดีทำชั่วก็เพราะรูปเพราะนามอันนี้ แต่ว่ารูปนี้ทำดีไม่เป็น ทำชั่วไม่เป็น นามมีอำนาจสั่ง รูปเป็นทาสของนาม ใจเป็นนามสั่งให้ทำอะไรก็ทำไปเลย สั่งให้ฆ่าตัวตายก็เอา เอาปืนมายิงตัวเองก็ได้ สั่งให้กินเหล้าก็กิน ทั้งๆที่มันไม่มีรสชาติอะไร กินเหล้าก็กิน สั่งให้สูบบุหรี่ สั่งให้ผูกคอตาย รูปนี้มันไม่รู้อะไรจริงๆ นามนี่มีอำนาจ เขาสั่งให้ทำอะไรก็ทำ พอดูเข้าไปจริงๆก็ โอ ตื่นตกใจ 
พอเห็นสภาพอย่างนี้เข้ามา อันเอะใจเห็นว่า "จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว" ดังที่ท่านสอนไว้

ความรู้สึกตัวนั้นเป็นมรดกของชีวิตเรา นี้คือหลักของภาวนา เราทำอะไรไม่ได้ก็ไม่เป็นไร แต่ให้ฝึก เช่น สมมติว่าเรานั่งอยู่บนรถเมล์ กำลังนั่งไปทำงาน เราอาจจะคิดไปโน่นคิดไปนี่ก็กลับมาเสีย กลับมากระดิกนิ้วมือให้รู้อยู่ มันคิดไปทีไรก็กลับมา มารู้ตรงนี้ กระดิกนิ้วมือเล่น จะคลึงนิ้วมือเล่นให้รู้อยู่ มารู้ที่มือเรา มันคิดไปอีกก็กลับมาอีก
ปฎิ ก็คือกลับมา กลับมาหาความรู้สึกตัว ถึงเราจะเดิน จงกรมไม่เป็น อาจจะไม่บริกรรมภาวนา พุทโธ ยุบหนอพองหนอ อะไรก็ได้ ก็กลับมา คิดไปก็กลับมา
ปฏิ ก็คือกลับมา กลับมา มาอยู่เป็นปกติ เมื่อแรกเราต้องหัด ต่อไปไม่ต้องหัด มันเป็นของมันเอง มันจะกลับมาเอง อย่าคว้าหาเอง มันจะไม่ไป มันจะเป็นปกติของมันอย่างนั้นเอง
มันหัดได้ มันสอนได้ จิตใจของเราประเสริฐที่สุด ท่านทั้งหลายจะสัมผัสดูก็ได้

เรามาเรียนหลักสูตรของมนุษย์ด้วยการใช้กายและใจเป็นตำรา กล่าวคือ พยายามให้มีสติ ให้มีความรู้สึกตัวอยู่กับการใช้กายและใจ เข้าไปศึกษาดูให้รู้ให้เห็น โดยอาศัยวิธีการเจริญสติตามรูปแบบของหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ คือการยกมือสร้างจังหวะเคลื่อนไหวไปมาหรือการเดินจงกรม ทั้งนี้ให้ "เจตนาเคลื่อนไหว" เพื่อเห็นกายหยาบๆไปก่อน แล้วจึงจะเห็นใจ หรือเห็นความคิดปรุงแต่งได้
การยกมือสร้างจังหวะหรือการเดินจงกรมก็เพื่อให้มีสติรู้ชัดเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว ถ้าเห็นการเคลื่อนไหวชัดก็เห็นใจชัด เราไม่ต้องไปหาดูใจ แต่อาศัยการดูผ่านการเคลื่อนไหวนี้่ หาโอกาสที่จะดูกายอยู่เสมอๆ พยายามเจตนาดู เช่น ในขณะฝึกปฎิบัติด้วยการยกมือสร้างจังหวะหรือเดินจงกรม เป็นต้น วันหนึ่งอาจจะรู้หลายรู้
ขณะที่มีความรู้สึกอยู่กับการเคลื่อนไหวของกาย บางขณะอาจมีหลายเรื่องที่ทำให้เราหลง เช่น ความคิดที่ลักคิด ซึ่งมักเกิดขึ้นในขณะที่เราตั้งใจทำความเพียรด้วยการเจริญสติ เมื่อเกิดขึ้นให้ถือว่าเป็นบทเรียน เป็นประสบการณ์สอนเรา ขอให้เรากลับมาตั้งต้นดูกายเคลื่อนไหวเสียใหม่ เพราะความหลงจะสอนเราไม่ให้หลง

รูปแบบที่เราทำก็เป็นสูตรที่สำเร็จจริงๆ พลิกมือขึ้น ยกมือขึ้นรู้จริงๆ ยกมือขึ้นก็รู้ วางมือลงก็รู้ ก้มลงก็รู้ ไม่ต้องไปถามใคร เป็นปัจจัตตังทันที เราเห็นเองรู้เอง แล้วก็ไม่ต้องไปรอเสี้ยววินาทีไม่ต้องรอ พลิกมือขึ้นก็รู้ ยกมือขึ้นก็รู้ รู้ปั๊บทันทีนี้มันของจริง ของจริงมันต้องพิสูจน์ได้ ไม่ต้องไปวาดมโนภาพไม่ต้องไปคิดว่าจะเป็นอย่างนั้นจะเป็นอย่างนี้ ไม่ต้องไปคิด ลองสัมผัสเอาจริงๆ รู้สึกตัวๆ
ถ้าเรายกมือสร้างจังหวะ 14 จังหวะ ถ้าทำพอดีๆ 14 จังหวะ จังหวะหนึ่งก็วินาทีหนึ่ง 14 วินาทีก็ได้ 14 รู้ 14 รู้ก็ได้ 14 วินาที รูปแบบของการสร้างจัวหวะ ชั่วโมงหนึ่งก็ 3600 วินาที ถ้าเรารู้ทุกวินาที เราก็ได้ความรู้สึกตัว 3600 รู้ มันเป็นกอบเป็นกำ ถ้ารู้ก็ไม่หลง ถ้าสัมผัสความรู้สึกตัว
บางทีมันทำไปนานๆ อาจล้า เราต้องรู้จักเปลี่ยนอิริยาบถใหม่ ปรับปรุงตัวเองบ้าง อยู่ท่านี้นานเกินไป ครึ่งรู้ครึ่งหลง เราต้องปรับแผนใหม่ ตั้งต้นใหม่ให้มัน ให้ความรู้สึกตัวมันเด่นๆ
เหมือนกับนักถ่ายภาพอยู่ในฉากใดฉากหนึ่ง ถ้ามีมุมมองไม่สวยไม่เด่นแล้วก็หาจุดที่มันเด่นๆหาเอา ถ้านั่งไปๆมันง่วงลุกขึ้นเดินจงกรมให้ความรู้มันเด่น อย่าให้ความง่วงความหลงมันเด่น ก็ปรับไปเรื่อยๆ ทำไปทำมาความรู้สึกตัวมันเด่น มันเป็นใหญ่ มันมีอำนาจ ง่ายที่จะรู้ ถ้าเราทำไม่เป็นก็ง่ายที่จะหลง แต่ถ้าความหลงมันยิ่งใหญ่แล้วก็เป็นภาระ
เราจึงพยายาม หัดใหม่ๆนี้พยายามทำให้มันแม่นยำให้มันชัดเจน การยกมือสร้างจังหวะอย่าทำสักว่าทำ ใส่ความรู้สึกตัวเข้าไป ถ้าไม่รู้สึกตัวก็อย่าไปพลิกมือ ทำช้าๆไว้ ใส่ใจลงไป
เอาให้มันมั่นใจ มันรู้จริงๆ อย่าสักแต่ว่าทำเฉยๆ มันจะได้นิสัย ได้ปัจจัย ง่ายที่จะรู้

สมัยหนึ่ง หลวงพ่อกลับจากสิงคโปร์มาแวะที่หาดใหญ่ก็มีคนนำฝรั่งคนหนึ่งไปหา ฝรั่งคนนั้นก็บอกกับหลวงพ่อเลยว่า อย่าสอนผมนะ หลวงพ่ออย่าสอนผมนะ หลวงพ่อสั่งให้ผมทำดีกว่า ผมรู้มามากแล้ว อย่าสอนผม ให้ผมทำดีกว่า ดูซิฝรั่งเขาพูด
หลวงพ่อก็รู้สึกว่า โอ ดีเหมือนกัน ก็บอกเขา ให้เขาเริ่มต้นแบบนี้แหละ
กรรม กรรมคือการกระทำ ให้รู้สึก พลิกมือขึ้นรู้ไหม รู้ ยกมือขึ้นรู้ไหม รู้ รู้นะ รู้ก็ให้เขาทำอยู่นั่นราว 30 นาที ต่อจากนั้นก็พาเขาเดิน เดินก้าวไปให้รู้นะ เขาก้าวไปที่ใด หลวงพ่อก็เอามือแตะแขนเขา รู้อย่างนี้นะ รู้อย่างนี้นะ ก้าวไปก็ให้รู้อย่างนี้นะ รู้ รู้ รู้สึก ให้เดินดูสัก 30 นาที ก็เรียกเขามานั่งให้เขายกมือสร้างจังหวะอีก เขาได้สัมผัสกับความรู้สึกตัว สัมผัสกับสติ อยู่กับกาย
ก็ถามเขาว่า เมื่อตะกี้นี้คุณมีสติอยู่กับกาย จิตใจของคุณคิดไปทางอื่นไหม ไม่คิด อยู่ตรงนี้ รู้ตรงนี้ รู้ตรงนี้ ถ้ารู้อย่างนี้คุณเคยรู้อยู่อย่างนี้นานๆไหม หนึ่งวันเคยไหม ไม่เคย ชั่วโมงหนึ่งเคยรู้ไหม ไม่รู้ ก็เพ่ิงมารู้เดี๋ยวนี้
ทำไมเราจึงทำเป็นรูปแบบ เพราะเราฝึกให้มันเป็นปัจจุบัน ชีวิตของเราถ้าเราไม่ให้เป็นปัจจุบัน มันก็จะคิดไปหน้าคิดไปหลัง โดยเฉพาะความคิดมันอยู่นิ่งไม่เป็น ถ้าเราไม่มีเครื่องให้จับให้เกาะ
ทุกวันนี้คนเราจะเจริญในความคิด อะไรก็เอามาคิดทั้งหมด สิ่งที่ทำก็เอามาคิด เช่น เลิกจากงานมาถึงบ้าน ทำงานยังไม่เสร็จ อยู่ที่บ้านก็คิดเรื่องทำงานไม่เสร็จ นั่นไม่มีประโยชน์อะไร
ความคิดนั้นมีอยู่สองอย่าง คือ หนึ่งความลักคิด อีกอันหนึ่งคือตั้งใจคิด ความลักคิดแม้เราไม่อยากคิดมันก็คิด ถ้าเราไม่มีปัจจุบันเป็นที่อยู่ มันก็คิดไปเรื่อย จากเรื่องนี้เป็นเรื่องนั้น ตะพึดตะพือไป ถ้าเรามีความรู้สึกตัวเวลาใด มันก็กลับมา มารู้ปัจจุบัน มาอยู่ปัจจุบัน
วิธีสร้างความรู้สึกตัวจึงอาศัยรูปแบบ ต้องอาศัยการฝึกหัด ถ้าผู้ที่ฝึกหัดมาแล้วก็ง่ายที่จะมีความรู้สึกตัว

วิธีที่จะทำให้สติมันเด่นมันชัดขึ้นมา มันไม่มีวิธีอื่นใดที่จะให้ชัดเท่ากับวิธีเคลื่อนไหวกายหรือวิธีสร้างจังหวะนี้
วิธีสร้างจังหวะนี้เป็นมุมมองที่ชัดเจนที่สุดกว่าทุกๆวิธี จะขอพูดว่า ทุกๆวิธีนั้นใครจะว่าอะไรก็ว่ากันไป สำหรับหลวงพ่อเห็นว่าวิธีสร้างจังหวะนี้เป็นวิธีที่ทำให้ความรู้สึกชัดกว่าทุกๆรูปแบบเพราะอะไร เพราะเคยทำมาแบบพุทโธ หายใจเข้ารู้สึกตัว หายใจออกรู้สึกตัว ก็เคยสัมผัสมา
ลมหายใจนี้เป็นธรรมชาติ เคลื่อนไหวเข้า ออกเป็นธรรมชาติ ไม่ต้องเจตนา มันก็เป็นอยู่อย่างนั้น บางทีเราไม่รู้ มันก็หายใจอยู่นั้นแหละ มันอาจจะหลงง่าย สำหรับตัวหลวงพ่อนะ คนอื่นอาจจะรู้ง่ายก็ได้ แต่เราอย่าไปขัดกันแย้งกันในเรื่องนี้
ขอให้ทุกรูปทุกนามใส่ใจเจตนา สร้างสติโดยการเคลื่อนไหว ลองดู ทดลองดู สัมผัสดู ถ้าเรามีสติอยู่กับการเคลื่อนไหวนานๆ การมีสติมันก็ละความชั่ว มีสติมันก็ทำความดี การมีสติจิตมันก็ค่อยสะอาดขึ้น ค่อยบริสุทธิ์ ค่อยสงบ เหมือนกับน้ำที่ไม่มีลมพัด น้ำมันก็น่ิงได้ ใจที่ไม่ค่อยมีอารมณ์มาพัดเพราะมีสติ สติมันเป็นผู้ปรับ ปรับสมดุล เป็นธรรมชาติให้แก่จิตใจ

การเจริญสตินี้ก็ขออย่าให้มีแนวร่วมอย่างอื่น ให้มีสติบริสุทธิ์ มีสติซื่อๆตรงๆ ให้มีความรู้สึกตัวซื่อๆตรงๆ รู้สึกที่กายซื่อๆตรงๆให้มีสติเต็มที่อย่าให้มีอะไรเป็นเบื้องหน้า เบื้องหลัง ให้สติมันท่องเที่ยวอยู่กับกาย กับรูป ให้สติมันเห็นจิตเป็นใจ เวลาที่มันคิด อย่าให้มีอะไรมาขวางกั้น ให้โอกาสแก่สติเต็มที่เกี่ยวกับกายนี้ รู้ซื่อๆตรงๆรู้บริสุทธิ์ วิธีใดที่เราจะมีความรู้ตัวอยู่ภายในกาย เราก็หาโอกาสนั้นให้มันซื่อๆตรงๆรู้ซื่อๆ
แต่บางคนไม่ใช่ บางคนและอาตมา หรือหลวงพ่อนี่ก็เหมือนกัน สมัยก่อนมันไม่รู้ซื่อๆตรงๆมันเผื่อ มันก็ไปรู้อะไรอยู่ มันก็คิดไป ทำไมจึงทำอย่างนี้ มันเอาผิดเอาถูก เอาเหตุเอาผลไปร่วมด้วย ทำอย่างนี้มันดี มันชอบ มันไม่ชอบ ทำไมจึงทำอย่างนี้ ถ้ารู้แล้วมันจะเป็นอย่างไร เช่น เรามีสติอยู่ "เอ เรามีสติหรือเปล่า" "อันนี้เป็นสติหรือเปล่า" "อันรู้อยู่นี้เป็นสติหรือความคิดกันแน่" บางทีมันก็คิดไป ไม่รู้ว่าตัวสติมันคืออะไร มันก็เลยถูกแบ่งถูกแยกตลอดเวลา เอาเหตุเอาผลไปร่วม เอาผิดเอาถูกไปร่วมกับการกระทำ มันก็เลยไม่เต็มที่

บางคนไปสู้กับความคิดจนเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า จนคร่ำเครียด ไม่จำเป็นต้องไปถึงขนาดนั้นหรอก ส่ิงที่เราจะแก้ไขมันง่ายอยู่ เวลาใดที่มันคิด เรากลับมากำหนดอิริยาบถพลิกมือเคลื่อนไหวไปมานั้นแหละ ก็เท่านี้ มันไม่ยิ่งใหญ่อะไร แต่ถ้าเราไม่รู้ มันก็ยิ่งใหญ่มาก มันดึงมันลากไป จนกลายเป็นอารมณ์จนถอนตัวไม่ออก มันตกหล่ม ไม่แก้ ไม่ช่วยตัวเอง ปล่อยให้ตกอยู่
การถอนออกจากหล่มก็คือกลับมาที่การกำหนดกายเคลื่อนไหว อะไรก็ตาม ถ้าเรากลับมานี่มันเปลี่ยนได้ทั้งหมดจะเป็นความง่วง ความคิด ความลังเลสงสัย ความปวด ความเมื่อย เวทนาอะไรต่างๆก็ตาม ให้เป็นความรู้สึกตัว สิ่งที่รู้ก็มีอยู่จริงๆ เรียกว่า "แก้อารมณ์" เปลี่ยนอารมณ์ให้กับตัวเองสอนตัวเอง ให้ตัวเองมีประสบการณ์ เวลาใดมันหลงไป กลับมากำหนดกายเคลื่อนไหว หาประสบการณ์เรื่อยๆไป มันก็มีโอกาสชำนิชำนาญในการเห็นความคิด เห็นความง่วง เห็นอาการต่างๆที่เกิดขึ้นกับกายกับใจ เอาสติเข้าไปกำหนดรู้ทุกครั้งทุกคราวไป
สติที่เข้าไปรู้ทุกครั้งทุกคราวมันก็มีโอกาสแก้กล้า เป็นประสบการณ์แข็งแกร่งขึ้น ง่ายขึ้นๆ

การรู้แบบดูนี่ พยายามดูให้เป็นอิสระ เคลื่อนไหวไปมานี่ ดูจิตใจนี่ไม่มีอะไร ยิ้มแย้มแจ่มใส เห็นความคิด คล้ายๆกับว่าหัวเราะความคิดตัวเองได้ แต่บางคนเครียดเวลามันคิด เวลามันคิดก็เครียดขึ้นมา ถือว่าตัวเองผิด แต่จริงๆแล้วถ้ามันคิดขึ้นมาก็ โอ้ มันเป็นเรื่องที่สดชื่นมาก เหมือนกับเราเห็นสิ่งใดที่มันผิด เหมือนกับศิลปิน เห็นมันผิด มันเป็นเรื่องที่สดชื่นเป็นเรื่องกระตือรือร้น เป็นผลงานที่สำเร็จ ถ้าไม่เห็นจุดผิดไม่มีโอกาสสำเร็จ หรือเป็นหมอก็ดี ถ้าหมอตรวจโรค ดูโรคออกเป็นสมมติฐานของโรค ได้ชื่อว่าหมอคนนั้นเก่ง
อันการที่เห็นว่าตัวเราผิดนี้เป็นเรื่องที่น่าสดชื่นใจ กระตือรือร้นอยากให้มันผิดด้วยซ้ำไป แต่บางคนป้องกันเกินไป เพื่อนหลวงพ่อสมัยก่อนปฎิบัติด้วยกัน นั่งอยู่ เอารองเท้ามาตีหัวตัวเองตุ๊บๆตุ๊บๆ
หลวงพ่อก็ไปถาม "ทำไมล่ะ"
เขาตอบว่า "ไม่รู้มันคิดอะไร ไอ้ห่านี่ มันคิดอะไร เราต้องตีหัวตัวเอง ไอ้ห่านี่ มันคิดอะไร"
โอ้ มันไม่ใช่หรอกหลวงพ่อ มันไม่ใช่อย่างนั้น สติมันไม่ใช่อย่างนั้น หลวงพ่อทำอย่างนั้นมันดับเบิ้ลคิด ไม่รู้ว่ากี่เรื่องแล้ว หลายเรื่องแล้ว กว่าที่จะไปเอารองเท้ามาตีหัวตัวเอง มันซ้อนคิดเข้าไปเยอะแยะ ไม่ใช่ลักษณะของสติ
ลักษณะของสติพอมันคิดแล้วมันจะยิ้มนะ ยิ้มแย้มแจ่มใส หัวเราะสดชื่นนะ ไม่ใช่มันผิดแล้วเอารองเท้ามาตีหัว นั่นไม่ใช่เรื่องของสติ ไม่ใช่เรื่องของความรู้สึกตัว สติแท้ๆ มันจะสดชื่อนเวลาเห็นความคิดมันจะยิ้ม มันก็มีความมั่นใจ มันเป็นเรื่องที่สดชื่น นี่คุณค่าของสติ รู้อย่างนี้ ดูอย่างนี้

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ฉันจะเป็นชาวนา

ฉันจะเป็นชาวนา

เวลาปลูกข้าว ให้ระลึกเสมอว่า กำแรกทำบุญ กำสองทำทาน กำสามทำพันธ์ุ กำสี่ทำกิน อย่าเพิ่งคิดเรื่องขาย แม่โพสพท่านเป็นเทพชั้นสูง ไม่ได้มีไว้ซื้อขาย ชาวนาคนไหนหว่านกำแรกก็เห็นแต่เงิน เห็นแต่รายได้ ทำเท่าไหร่ก็ไม่เจริญ เพราะไม่เคารพแม่ ไม่ใช่แค่แม่โพสพด้วยนะ ต้องเคารพทั้งสามแม่ คือแม่โพสพ แม่ธรณี แม่คงคา สามสิ่งนี้จำไว้ให้ขึ้นใจ ถ้าทำด้วยความเคารพ ทำเพื่อประโยชน์สุขของตนเองและเผื่อแผ่ให้คนรอบข้าง ทำนาต่อไปก็จะมีแต่ความสุขความเจริญ


วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เวลานี้ ที่เป็นสุข







ฟังด้วยความกรุณา 

เรารู้ดีว่า หากเราสามารถนั่งฟังคนผู้นั้นด้วยความเมตตากรุณา คนที่พูดก็จะได้รับการปลดปล่อยความทุกข์ในเวลาเพียงแค่ 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น นั่นคือการปฏิบัติที่เรียกว่าการฟังด้วยความกรุณา 

เธอฟังด้วยความตั้งใจอย่างเดียวเท่านั้น คือให้โอกาสผู้พูดได้พูดในส่ิงที่เป็นความทุกข์ทั้งหมด เพื่อให้เขามีความทุกข์น้อยลง เพราะฉะนั้น เธอต้องมีสมาธิมากพอตลอดช่วงที่เธอกำลังฟังเขา เธอฝึกที่จะตามลมหายใจเข้าออก อย่างลึกซึ้ง ฝึกปฏิบัติเพิื่อรับฟัง ในระหว่างที่เขาพูด เธออาจสังเกตได้ว่า คำพูดของเขาเต็มไปด้วยความคิดเห็นที่ผิด เต็มไปด้วยการกล่าวโทษ หากเธอปล่อยให้คำพูดที่เปี่ยมไปด้วยความขมขื่นเป็นทุกข์ สัมผัสกับความหงุดหงิด ความโกรธของเธอ เธอก็จะสูญเสียความสามารถในการฟังด้วยความกรุณา เพื่อที่จะทำให้ เธอไม่สูญเสียการฟังอย่างลึกซื้ง เธอต้องฝึกที่จะฟังด้วยจิตใจอันเมตตากรุณา เตือนตัวเองว่า การนั่งฟังเช่นนี้ เธอมีจุดประสงค์เพียงอย่างเดียงเท่านั้น คือ ให้เขามีความทุกข์น้อยลง สิ่งที่เขาพูดออกมานั้นอาจจะเต็มไปด้วยความเห็นที่ผิด แต่เราจะไม่ขัดขวางการพูดของเขา ถ้าหากว่าเราขัดขวางการพูด เราทัก หรือหยุดเขา เราก็จะไม่สามารถที่จะฝึกฟังได้อย่างลึกซื้ง มีความโกรธเกิดขึ้น และมันก็จะกลายเป็นการทะเลาะเบาะแว้งกันในที่สุด 

เธออาจกล่าวกับตัวเองว่า อาจจะเป็นวันพรุ่งนี้หรือสัปดาห์หน้า ฉันอาจจะให้ข้อมูลข่าวสารเพื่อแก้ไขความเข้าใจผิดนั้น แต่ไม่ใช่ในขณะนี้ การมีสติเช่นนั้นจะทำให้เธอรักษาความกรุณาให้คงอยู่ในหัวใจของเธอได้ และเธอจะไม่รู้สึกโกรธ การรับฟังอย่างลึกซึ้งเช่นนี้เป็นเวลาเพียงหนึ่งชั่วโมง จะบำบัดเยียวยาอีก

พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า อดีตนั้นผ่านไปแล้ว อนาคตยังมาไม่ถึง มีอยู่ชั่วขณะเดียวเท่านั้นที่เรามีชีวิตอยู่อย่างแท้จริง นั่นก็คือชั่วขณะแห่งปัจจุบัน

พวกเราหลายคนพยายามวิ่งไขว่คว้าสิ่งที่เราอยากได้อยากมีในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นปริญญาบัตร ชื่อเสียง ความมั่งคั่ง หรือความใคร่ทางกามารมณ์ เมื่อเราทำเช่นนั้นก็เหมือนกับเรายอมสละปัจจุบันขณะ เพื่อวิ่งเข้าไปหาอนาคต หลายคนวิ่งเข้าไปหาอนาคตเพื่อไขว่คว้าสิ่งที่เราอยากได้อยากมี เขาเหล่านั้นมีความทุกข์มหาศาล ทำลายล้างร่างกายและจิตใจเป็นอย่างยิ่ง

การฝึกปฏิบัตินี้ ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงเธอนำใจกลับมาสู่กายและตั้งมั่นอยู่ในปัจจุบันขณะ เธอจะรับรู้ได้ว่ามีเงื่อนไขปัจจัยมากเกินพอที่จะทำให้เธอมีความสุข เธอมีความสุขได้ณที่นี่และขณะนี้ นักปฏิบัติสามารถสร้างช่วงเวลาแห่งความสุขได้ในทุกที่ทุกขณะ เรามักจะวิ่งหนีจากความรู้สึกเจ็บปวดเสมอ เรากลบเกลื่อนความเจ็บปวดด้วยการบริโภค ฟังดนตรี อ่านนิตยสาร หรือรับประทานอาหาร บางทีมิใช่สิ่งเหล่านี้นำความสุขมาให้ แต่เป็นเพราะเราไม่ต้องการสัมผัสกับความเจ็บปวด เราจึงปกปิดมันไว้ด้วยการบริโภค

ปัญญาไม่ได้เกิดจากการครุ่นคิด แต่เกิดจากสติ ระหว่างที่ฝึกสติและสมาธินั้น เธอไม่ต้องคิดอะไรทั้งสิ้น เธอควรหยุดความคิดทั้งหมด ปัญญาเป็นผลจากการไม่คิด

วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว (The One-Straw Revolution)



มนุษย์จะทำงานได้ดีที่สุด เมื่อเขาทำเพื่อความดีงามของมนุษย์ ไม่ใช่เพื่อ "ผลผลิตที่สูงขึ้น" หรือเพื่อ "เพิ่มประสิทธิภาพ" ซึ่งเป็นเป้าหมายในการดำเนินงานเกษตรกรรมแบบอุตสาหกรรม
ฟูกูโอกะกล่าวว่า "เป้าหมายสูงสุดของเกษตรกรรมไม่ใช่การเพาะปลูกพืชผล แต่คือ การบ่มเพาะความสมบูรณ์แห่งความเป็นมนุษย์" เรามิได้มีชีวิตอยู่ด้วยอาหารเพียงอย่างเดียว

ความเห็น  : ช่างแตกต่างอย่างมากมายกันสิ่งที่เรียนรู้มาตลอดชีวิต แล้วเราเรียนวิศวะไปเพื่ิออะไร

การเข้าไปแทรกแซงของมนุษย์ก่อให้เกิดสิ่งที่ผิดพลาดขึ้น และถ้าความเสียหายดังกล่าวถูกปล่อยทิ้งไว้โดยไม่แก้ไข จนผลร้ายนั้นสะสมมากเข้า คนเราก็จะต้องทุ่มเทความพยายามทั้งมวลเพื่อเข้าไปแก้ไขมัน หากการแก้ไขลุล่วงไปด้วยดี พวกเขาก็จะคิดว่าวิธีการเหล่านั้นเป็นความสำเร็จอันงดงาม คนเรามักทำเช่นนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า มันก็เหมือนกับคนโง่ที่ปีนขึ้นไปบนหลังคาบ้าน แล้วทำกระเบื้องบนหลังคาแตก พอฝนตกลงมา เพดานก็เริ่มเปื่อยและปล่อยน้ำฝนรั่วลงมา เขาก็จะรีบปีนขึ้นไปซ่อมหลังคา จากนั้นก็ดีใจที่เขาได้ค้นพบวิธีการแก้ปัญหาที่วิเศษมหัศจรรย์
        นักวิทยาศาสตร์ก็เป็นเช่นเดียวกัน เขาคร่ำเคร่งกับการอ่านตำราทั้งวันทั้งคืน ซึ่งเป็นการบั่นทอนสายตาของตน และในที่สุดก็สายตาสั้น หากคุณนึกกังขาว่าอะไรหนอที่ทำให้เขาถึงกับคร่ำเคร่งศึกษาอย่างจริงจังตลอดเวลาเช่นนั้น คำตอบก็คือ เขาเป็นนักประดิษฐ์แว่นตาสำหรับคนสายตาสั้น

        มนุษย์เป็นสัตว์โลกชนิดเดียวที่ต้องทำงาน และผมคิดว่านี่เป็นเรื่องน่าหัวเราะมากที่สุดในโลก สัตว์โลกชนิดอื่นหาเลี้ยงชีพด้วยการมีชีวิตอยู่ แต่มนุษย์ทำงานเหมือนคนบ้า โดยคิดว่าเขาต้องทำเช่นนั้นเพื่อที่จะมีชีวิตอยู่ ยิ่งงานนั้นยิ่งใหญ่เท่าไหร่ ความท้าทายมากเท่าไหร่ เขาจะคิดว่ามันยิ่งวิเศษเท่านั้น จะเป็นการดีถ้าเลิกคิดในลักษณะเช่นนั้นได้ และใช้ชีวิตอยู่อย่างง่ายๆ ชีวิตที่สะดวกสบายและเต็มไปด้วยเวลาว่าง ผมคิดว่าการใช้ชีวิตของสัตว์ในเขตร้อนที่จะออกมาในตอนเช้าและตอนเย็นเพื่อดูว่ามีอะไรกินบ้าง และมีเวลาว่างในยามบ่ายสำหรับงีบหลับ เป็นวิถีชีวิตที่ดีวิเศษ